ความต้องการในการได้รับคำปรึกษาของนิสิตจากฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการได้รับคำปรึกษาด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม และเปรียบเทียบความต้องการในการได้รับคำปรึกษาด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม จำแนกตามเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและระดับชั้นปีที่ศึกษาของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2558 จำนวน 204 คนได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามระดับชั้น เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามความต้องการในการได้รับบริการให้คำปรึกษาด้านการศึกษา จำนวน 45 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (independent sample) และ F-test (one-way analysis of variance) เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ Sheffe’ผลการวิจัย พบว่า นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความต้องการได้รับ บริการให้คำปรึกษา ดังนี้ 1) นิสิตมีความต้องการได้รับบริการให้คำปรึกษา ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคมโดยรวมอยู่ระดับมาก เพื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการได้รับบริการให้คำปรึกษาด้านอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านส่วนตัวและสังคม 2) นิสิตเพศชายและเพศหญิงมีความ ต้องการได้รับบริการให้คำปรึกษาโดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนและสังคม ไม่แตกต่างกัน 3) นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ มีความต้องการได้รับบริการให้คำปรึกษาโดยรวมและเป็นรายด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม ไม่แตกต่างกัน 4)นิสิตระดับชั้นปีที่ 1 ระดับชั้นปีที่ 2 ระดับชั้นปีที่ 3 และระดับชั้นปีที่ 4 มีความต้องการได้รับบริการให้คำปรึกษาด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตระดับชั้นปีที่ 3 มีความต้องการได้รับบริการให้คำปรึกษาในภาพรวมน้อยกว่านิสิตระดับชั้นปีที่ 1 และระดับชั้นปีที่ 2 และนิสิตระดับชั้นปีที่ 3 มีความต้องการได้รับบริการให้คำปรึกษาด้านอาชีพและด้านส่วนตัวและสังคมน้อยกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 และระดับชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05