การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้อีเลิร์นนิงและการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jli.2019.6คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , อีเลิร์นนิง , การเรียนแบบร่วมมือบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียน e-learning และการเรียนแบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้บทเรียน e-learning และการเรียนแบบร่วมมือ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วย e-learning และการเรียนแบบร่วมมือ ในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของคณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา จำนวน 72 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียน e-learning 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t-test (Dependent Sample t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงและการเรียนแบบร่วมมือ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่า E1/E2 เท่ากับ 81.24/82.14 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียน e-learning และการเรียนแบบร่วมมือ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนอีเลิร์นนิงและการเรียนแบบร่วมมือ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x= 4.19 S.D. = 0.87)
References
Chaiwat Sutthirat. (2010). 80 Nawatkamkānčhatkānrīanrūthīnēnphūrīanpensamkhan [80 Innovative learning management that focuses on learners]. Bangkok, Thailand: Danex Inter Corporation.
Thapanee Thammetar. (2014). ʻĪlœ̄nning : Čhāktritdīsūkānpatibat [e-Learning: from theory to practice]. Nonthaburi, Thailand: sahamitr printing and publishing Company Limited.
Thanomporn Laohajaratsang. (2017). Nǣopatibatthīdīnaikānrīankānsō̜nphānʻīlœ̄nning [Best Practice in Teaching with e-learning]. Retrieved from www.arc.cmu.ac.th/it_clinic/doc/12.pdf.
Theeravadee Thangksbutra. (2017). Wicha Kānphalitsư̄ʻīlœ̄nningphư̄akānsưksā [ E-learning media production for education]. Retrieved from https://thaimooc.org/
Piyanan Pannim. (2016).Kānphatthanārūpbǣpkānrīankānsō̜nbonwepbǣpphasomphasāndūaikānrīankānsō̜nbǣprūammư̄ [Development of Web-Based Instruction Model Blended with Cooperative Learning]. VRU Research and Development Journal Science and Technology, 11(2), 121-128.
Pornchai Jedaman, Pachoen Kidrakarn, Paitoon Pimdee, Kollawach wangsa-ard, Aukkapong Sukkamart and charoen Sooksub. (2017). Kānphatthanākānsưksāphāitaikrō̜pprathed 4.0 Sūsatawatthī 21 [The Development Education Issue of Thailand 4.0 towards 21st Century]. Retrieved from https://www.kroobannok.com/news_file/p81770280746.pdf
Wiwat Meesuwan. (2016). ʻIntœ̄netphư̄asapsingkapkānsưksā [Internet of Things with education]. The journal of social communication innovation, 4(2), 83-92.
Supaaksorn Fongjangwang and Kobsook Kongmanus. (2017).Kānphatthanārūpbǣpkānsō̜nbǣp
phasomphasāndōichaikānrīanrūbǣprūammư̄ Rư̄ang Kānkhīanprōkrǣmkhanphư̄nthān
dūaiphāsāčhāwātkhripsamrapnakrīanchanmatthayomsưksāpīthī [The Development of
Blended Instructional Model by Using Cooperative Learning in Basic Javascript Language
Programming for Mathayom Suksa 3 Students.]. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(4), 121- 133
Sammiti Sukbunjhong. (2011). Kānphatthanābotrīanʻīlœ̄nningwichākānsadǣnglæsư̄
Witthayālainawatkamsư̄sānsangkhom [Interactive of E-learning Courses for Acting and
Media]. Complete Research Report.
Sumatha Panpring. (2013). Kānphatthanābotrīanʻīlœ̄nningrư̄angKānsāngwīdithatphư̄akānrīankānsō̜nnaksưksākhanasưksāsātMahāwitthayālaisinpāk [A development of instructional television for e-learning of students in education faculty of Silpakorn University] (Master’s thesis). Bangkok, Thailand: Silpakorn University.
Atiwong Suchato. (2018). myCourseVille The Socail LMS [myCourseVille The Socail LMS]. Retrieved from https://innovationhub.chula.ac.th/th/Innovation/mycourseville.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรุ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จ้อต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก่อนเท่านั้น