การพัฒนาเทศบาลสมาชิกสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียวเข้าสู่การเป็นเมืองสีเขียวภายใต้กรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

Authors

  • ไพโรจน์ โพธิวงศ์
  • ฝาติเม๊าะ และหีม

Keywords:

สภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียว, กรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน, เมืองสีเขียว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมและศักยภาพของเทศบาลสมาชิกสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียว IMT-GT ในการสนับสนุนให้เป็นเมืองสีเขียวภายใต้กรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนแบบมีทิศทาง ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านการคมนาคมขนส่งและจราจร เทศบาลนครสงขลา มีแผนงานที่เข้าข่ายเป้าหมายมากที่สุด คือ เพิ่มการบริการขนส่งสาธารณะ การเดินทางรูปแบบที่ไม่ใช้น้ำมัน 2) ด้านพลังงาน เทศบาลนครสงขลา เทศบาลเมืองกระบี่ เทศบาลเมืองปัตตานี และเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีแผนงานในระดับที่สามารถสนับสนุนเป้าหมายได้ คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการใช้พลังงานจากการเผาไหม้น้ำมัน 3) การจัดการขยะและของเสีย ทุกเทศบาลมีแผนงานด้านนี้ค่อนข้างมากที่สามารถสนับสนุนเป้าหมายได้อย่างดี คือ การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การคัดแยกและรวบรวมเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ 4) ความหลากหลายทางชีวภาพ ทุกเทศบาลมีแผนงานเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ค่อนข้างมาก สามารถสนับสนุนเป้าหมายได้อย่างดี คือ การเพิ่มต้นไม้ปกคลุม การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ และการมีแผนงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  5) การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เทศบาลส่วนใหญ่มีแผนงานที่สนับสนุนเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสถานศึกษา ที่สนับสนุนเป้าหมายได้อย่างดี คือ การมีโรงเรียนอีโคสคูล หรือโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
(2548). คู่มือการพัฒนาพื้นที่สีเขียว (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: โทนคัลเลอร์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
(2559). Green City (เมืองสีเขียว). ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.onep.go.th/
คณน ไตรจันทร์. (2560). การพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อประเมินการเป็นเมืองสีเขียวใน 14 จังหวัดภาคใต้ ประจำปี
2560. สำนักงานฝ่ายเลขานุการฯ CMGF มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ไพโรจน์ โพธิวงศ์. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดภายใต้กรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (SUDF:
Sustainable Urban Development Framework). สำนักงานฝ่ายเลขานุการฯ CMGF
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถาบันอาคารเขียวไทย. (2559). คุณสมบัติของ Green City หรือเมืองสีเขียว. ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563,
จาก http://thailandsmartcities.blogspot.com/2016/10/green-city.html
อิศรัฏฐ์ รินไธสง. (2561). การประเมินการเป็นเมืองสีเขียวของเทศบาลใน 14 จังหวัดภาคใต้ ประจำปี
2561. สำนักงานฝ่ายเลขานุการฯ CMGF มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Local Governments for Sustainability, South Asia & Centre for IMT-GT Subregional Cooperation.
(2019). Sustainable Urban Development Framework for IMT-GT Subregion 2019-
2036. Malaysia: Centre for IMT-GT Subregional Cooperation

Downloads

Published

2020-12-28