การเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยโปรแกรมการให้คำปรึกษาทางอาชีพแบบกลุ่ม

Main Article Content

สุมาลี ขำอิน
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
วิไลลักษณ์ ลังกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาทางอาชีพแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อเปรียบเทียบวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลองระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะการติดตามผล 3)  เพื่อเปรียบเทียบวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะการติดตามผล ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 16 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยพิจารณาจากคะแนนแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพที่มีคะแนนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 32 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95  และโปรแกรมการให้คำปรึกษาทางอาชีพแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนวัดซ้ำแบบสองทางเป็นการเปรียบเทียบรายคู่  ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาทางอาชีพแบบกลุ่ม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจัดสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง คลอบคลุมองค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผนอาชีพ การสำรวจอาชีพ การตัดสินใจ และข้อมูลของโลกการทำงาน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการให้คำปรึกษากลุ่ม จำนวน 6 ทฤษฎี ร่วมกับการใช้แบบจำลองการคิด (CIP Model) และเทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีวุฒิภาวะทางอาชีพสูงกว่าก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีวุฒิภาวะทางอาชีพหลังการทดลอง และติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยที่ได้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าการจัดโปรแกรมการให้คำปรึกษาทางอาชีพแบบกลุ่มสามารถเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพได้แต่ควร ควรมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะพื้นฐานของการให้คำปรึกษาทางอาชีพแบบกลุ่มเพื่อก่อให้เกิดความถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

How to Cite
ขำอิน ส., ศรีสวัสดิ์ พ. ., & ลังกา ว. . (2024). การเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยโปรแกรมการให้คำปรึกษาทางอาชีพแบบกลุ่ม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(3), 441–455. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/278971
บท
บทความวิจัย

References

เจษฎา อังกาบศรี. (2554). การพัฒนาแบบวัดเจตคติและกลยุทธ์ด้านอาชีพและนำไปใช้ในการให้คำปรึกษากลุ่มด้านอาชีพ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2555). พัฒนาการอาชีพในองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชรา วรแสง. (2546). การศึกษาวุฒิภาวะด้านอาชีพของนักเรียนและการพัฒนาวุฒิภาวะด้านอาชีพของนักเรียนโดยการให้คำปรึกษาด้านอาชีพแบบกลุ่มตามแบบของจอห์น โอ ไคร้ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินุทิศ หอวัง นนทบุรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพบูลย์ บุญล้อม และวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. (2555). การพัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพ ด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. Journal of Education and Social Development, 8(1), 47-60.

ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2564). ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษากลุ่มและจิตบำบัดกลุ่ม. มหาสารคาม: อภิชาต.

ราชบัณฑิตตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ลออ สมใจ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Barch, J. L. (2011). Comparison of the Level of Career Development Between Beginning, Practicum, and Graduating Counselor Education Students (Doctoral dissertation). Duquesne University, Pittsburgh, PA.

Corey, G. (2016). Theory and practice of group Counseling (9th ed.). Boston, MA: Cengage Learning.

Jacobs, E. E., Masson, R. L., & Harvill, R. L. (2016). Group Counseling: Strategies and Skills. Boston, MA: Cengage Learning.

Niles, S. G., & Harris-Bowlsbey, J. (2009). Career Development Interventions in the 21st Century. Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Sharf, R. S. (2013). Applying career development theory to counseling (6thed.). USA: Books/Cole/Cengage Learning.

Trotzer, J. P. (2006). The Counselor And The Group. England: Taylor& Francis.

Zunker, V. G. (1990). Career Counseling: Applied Concept of Life Planning (3rd ed.). USA: Thompson Books.