ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น 3) เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โปรแกรมกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง และแบบวัดความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น ประกอบด้วย 1. การฝึกสมาธิ 2. การได้ทำในสิ่งที่ชอบ 3. การฝึกสติ โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองวัยรุ่น เป็นโปรแกรม 1 วัน ที่ผสมผสานระหว่างการทำกิจกรรม และการฝึกสติ สมาธิแบบง่ายๆ ประกอบด้วย 9 กิจกรรม โปรแกรม การสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองช่วยให้ของวัยรุ่นมีความเข้มแข็งทางใจและเห็นคุณค่าแท้ของตนเองได้มากขึ้น การมีความเข้มแข็งทางใจทำให้วัยรุ่นมีความเพียรพยายาม และการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองทำให้วัยรุ่นใช้ชีวิตอย่างถูกต้องดีงาม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต (RQ: Resilience quotient). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับลิสชิ่ง.
เกศริน เอกธวัชกุล. (2565). วิทยากรพิเศษ คุณครูสอนเต้นโครงการ To be number one งานจิตอาสามูลนิธิร่วมกตัญญู. สัมภาษณ์, 22 พฤษภาคม.
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ.ดร. (พระมหาหรรษา). (2565). ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์, 3 มิถุนายน.
พระราชมงคลวิเทศ และพระปราโมทย์ วาทโกวิโท. (2565). การสร้างความเข้มแข็งทางใจของชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาตามหลักพละ 5:กรณีศึกษาวัดมงคลเทพมุนี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1477-1491.
ไพจิตร พุทธรอด กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ. (2564). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. วารสารชุมชนวิจัย, 15(1), 70-82
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2565). นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขอธิการบดี ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต. สัมภาษณ์, 13 มิถุนายน.
วิมลวรรณ, ปัญญาว่อง. (2563). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสํารวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. Journal of Mental Health of Thailand, 28(2), 136–149.
Thai health watch. (2023). การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: ภัยเงียบที่เพิ่มขึ้น. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565, จาก https://resourcecenter. thaihealth.or.th/article/การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น-ภัยเงียบที่เพิ่มขึ้น.
Bayda, E. (2014). The Authentic Life. Boston: Shambhala Publications, Inc.
Branden, N. (1994). How to Raise Your Self-esteem: The Proven Action-Oriented Approach to Greater Self-Respect and Self-Confidence. New York: Random House USA inc.
Faul, F. et al. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. SCiP Conference, 39, 175-191
Grotberg, E. (1995). A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit. Retrieved September 2, 2023, from https://bibalex.org/baifa/attachment /documents/115519.pdf.