รูปแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการ ท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก

Main Article Content

พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ
พระครูพิพิธปริยัติกิจ
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
เมธาวีอุดม ธรรมานุภาพ
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
ประสิทธิ์ แก้วศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก 3) เพื่อนำเสนอการใช้รูปแบบโปรแกรมกิจกรรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ในการวิจัยประชากร 6 จังหวัดภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 รูป/คน และสนทนากลุ่มจำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วบรรยายเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสำหรับประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนารูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม 2) ด้านเทคโนโลยีให้บริการ 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ด้านการบริหารจัดการ 2. เปรียบเทียบรูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าปัจจัยด้านเพศของนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวในเขตพื้นที่ 6 จังหวัดภาคกลางมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธ
3.การใช้รูปแบบโปรแกรมกิจกรรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามโมเดล “ETCM”4 ด้าน คือ 1) สภาพแวดล้อม (Environment) 2) เทคโนโลยี (Technology) 3) ความสะดวก (Convenience) 4) การบริหารจัดการ (Management)

Article Details

How to Cite
สีลสุทฺโธ พ., พระครูพิพิธปริยัติกิจ, ศรีเครือดง ส., ธรรมานุภาพ เ., ฐิติโชติรัตนา ว., & แก้วศรี ป. (2024). รูปแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการ ท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(4), 604–618. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/276346
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2566). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปี 2566. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เกศสุดา ไถงตระกูล. (2560). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนากรณีศึกษาชุมชนชายแดนแม่น้ำโขงตอนบน จังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวตามแนวพุทธของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). พิมพลักษณ์. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนฤมล อินทิรักษ์. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีสังคม ชยานุวฑฺโฒ. (2561). การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา: รูปแบบและเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวของวัดในสังคมไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน (ด้วงวงศ์). (2560). รูปแบบการจัดการโบราณสถานตามหลักธรรมาภิบาลของชุมชนท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง (รายงายวิจัย). สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พระสนั่น เจริญยิ่ง. (2565). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดไร่ขิง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระเอกลักษณ์ อชิโต. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีพุทธของวัดในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยู่หยิง ไป๋. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ผ่านแอปพลิเคชั่น TikTok ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยของชาว Yunnan (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อัยยรัช อาภาศิลป์. (2563). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยในพุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อารีรัตน์ พรหมนิล. (2561). รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนุรักษ์ ทองขาว และคณะ. (2564). การเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 7(2), 98-112.