การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาวิจัย ได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้แบบ Onsite และ แผนจัดการเรียนรู้แบบ Online บทเรียนออนไลน์ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความพึพอใจ สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า t-test dependent พบว่า (1) ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 มีประสิทธิภาพ 83.10/85.95 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ผลการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับจากรูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการศึกษาพบว่าทักษะการแก้ปัญหาที่ได้รับจากรูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบไฮบริดเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (M=3.87, S.D=0.56)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินตวีย์ คล้ายสังข์. (2562). บรรยายการอบรมเชิงวิชาการ เรื่องการเรียนรู้แบบผสมผสาน. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://qa.hcu.ac.th/km/fileuploads/Blended-learning-2562.pdf
จิรภัทร ใจทัน และสุมาลี สุนทรา. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นโดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 (สระกระเทียม). การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2564, (834-840).
ชนัญชิดา ทุมมานนท์ และคณะ. (2564). ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อระดับการยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 140-151.
ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2563). แถลงการณ์การจัดการเรียนการสอนช่วง COVID-19 ครั้งที่ 2: รูปแบบการจัดการเรียนการสอน-โรงเรียนหยุดได้แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้ ในกรณีที่ไม่สามารถทำการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก https://www.bic.moe.go.th/index.php/ news-movement-menu/249-covid-19-no2
ทรงภพ ขุนมธุรส, ป ประภัสสนันทน์ เรืองจันทร์ และ ชญาตี เงารังษี. (2565). ผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยไมโครซอฟท์ ทีมส์ในรายวิชาวรรณกรรมร่วมสมัย. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 1-11.
ธนะวัชร จริยะภูมิ และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2559). กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 175-192.
มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ และคณะ. (2565). องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู. Journal of Information and Learning [JIL], 33(3), 22–33.
รัฐนันท์ รถทอง และมลรักษ์ เลิศวินัย. (2565). การศึกษาออนไลน์และการศึกษาแบบผสมผสาน. วารสารวิชาการ, 7(1), 418-429.
รุสดา จะปะเกีย. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาและความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วทัญญู สุวรรณประทีป. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานและแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศุภรางศุ์ จันทร์เมฆา. (2559). ทัศนคติและความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกแหล่งท่องเที่ยว (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. วารสารไทยคู่ฟ้า, 33, 3-17.
สุภาภรณ์ หนูเมือง และคณะ. (2565). พฤติกรรมการเรียนและปัจจัยความสำเร็จในการเรียนระบบออนไลน์บนแอปพลิเคชั่นไมโครซอฟต์ทีมในช่วงสถานการณ์โควิด-19. Journal of Integrate Science for Development, 12(1), 1-14.
สุวิมล ภาวัง และ สุมาลี ชูกําแพง. (2020). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 175-192.
อลงกรณ์ พรมที. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการแพร่กระจายสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต. (2565). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นทางประชากรศาสตร์ในห้องเรียนเสมือนด้วยโปรแกรม MS TEAMS. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 209-221.
Burton, C. (2022). Bite sized learning: A new strategy for teaching (how it works & tips). Retrieved December 10, 2023, from https://www.thinkific.com/blog/bite-sized-learning/
Mazlan, C. A. N., et al. (2023). Exploring the integration of bite-sized learning: A scoping review of research in education and related disciplines. Contemporary Educational Technology, 15(4), 468. https://doi.org/10.30935/cedtech/13622