ผลการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์ และดารวิจารณ์งานศิลปะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Main Article Content

อัมพร ศิลปเมธากุล
วิรินธร อักษรนิตย์
อดิศร ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ (2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์และดารวิจารณ์งานศิลปะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.67 – 1.00 มีค่าความยากเท่ากับ 0.39 – 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.21 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.793 และ 3)แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.55) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.36 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์หลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 14.64 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุกดังกล่าวสามารถส่งเสริมความสามารถในการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์และดารวิจารณ์งานศิลปะของนักศึกษาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แคทรียา มณีรัตน์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดี การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความตั้งใจคงอยู่ในงาน : กรณีศึกษาบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนำแห่งหนึ่ง.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2544). การพัฒนาการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดวิจารณญาณในวิชาชีพครุศาสตร์การทดลองในวิชาปฐมนิเทศการศึกษา. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

_______. (2556). การเรียนรู้เพื่อสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ส.เจริญการพิมพ์

มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาภรณ์ โม้แซง. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Ennis, R.H. (1989). Critical Thinking And Subject-Specificity:Clarification and needed Research. Pacific Grove, CA : Midwest Publication.

Elzabeth, M. (1997). Tune your brain. New York: The Berkley.

Guilford, J P. (1959). Personality. New York: McGraw- Hill.

McCarthy. (1997). A tale of learners : 4 MAT’s learning styles.