การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงพุทธในการปลูกฝังทักษะชีวิต เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคซึมเศร้าในเด็กปฐมวัยสามารถเกิดขึ้นได้และนับเป็นปัญหาที่ส่งผลร้ายแรงต่อพัฒนาการทางความคิดสติปัญญา ฉุดรั้งการเติบโตทางร่างกาย จิตใจและการเรียนรู้ด้านสังคม ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติในด้านผลผลิตและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและองค์ความรู้ในเชิงจิตวิทยามาประยุกต์ใช้เพื่อปลูกฝังทักษะชีวิตให้แก่เด็กปฐมวัย โดยมุ่งเน้นการสร้างเกราะป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าซึ่งเป็นอาการป่วยทางจิตที่สามารถเกิดขึ้นในเด็ก ให้เกิดความรู้ความเข้าใจตนเองและโลกรอบตัว เพื่อนำไปสู่การดูแลตนเองได้ แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีการสร้างสัมพันธ์ ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงง่ายและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ จนเกิดประโยชน์สูงสุดคือความสามารถเผชิญกับความท้าทายแห่งทุกข์ตามหลักจิตวิทยาเชิงพุทธ มีความมั่นคงทางจิตใจและใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์อย่างมีสติสมาธิเพื่อเรียนรู้โลกตามความเป็นจริงได้ จากการศึกษาหลักธรรมที่สามารถนำมาช่วยในการสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยเพื่อป้องกันและเยียวยาโรคซึมเศร้า ได้แก่ 1) หลักอานาปานสติ คือ การเจริญสมาธิโดยการกำหนดลมหายใจ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเองและเกิดสติ 2) หลักพรหมวิหาร คือการปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราและสร้างจิตใจให้มีความเมตตากรุณาของเด็ก 3) หลักภาวนา คือการส่งเสริมพัฒนาการด้านการยอมรับและการปรับตัวของเด็ก หลักธรรมทั้งสามนี้มีผลทั้งในด้านการเยียวยาสภาพจิตใจด้านลบและพัฒนาสภาพจิตใจด้านบวก ทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย สังคมและสติปัญญา หลักจิตวิทยาเชิงพุทธสร้างเสริมทักษะชีวิตให้แก่เด็กปฐมวัยจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการนำไปพัฒนาให้เกิดความสุขและความสมบูรณ์ในชีวิต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองหนึ่งใจ...เดียวกันฯ. (ม.ป.ป.). คู่มือการสร้างสรรค์การปฎิบัติงานจิตอาสา. ม.ป.ท.: ม.ป.ท.
จันทนา เกิดบางแขม. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของแรงงานไทยในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (รายงายวิจัย). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จำลอง ดิษยวณิช. (2551). ความเข้าใจแนวพุทธเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจ.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 53(3), 243-255.
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2552). จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 188-208.
ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2557). การพัฒนาพฤติกรรมตามหลักภาวนา 4 (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ. (2546). วิปัสสนาภาวนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง. (2566). โรคซึมเศร้า (Depression) อาการ สาเหตุ และการป้องกัน. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566, จาก https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/depression
นพร อึ้งอาภรณ์. (2554). วิชาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์. กรุงทพฯ: สำนักงานกุมารเวชศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์.
นฤมล มารคแมน. (ม.ป.ป.). หลักพุทธจิตวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แบรี่ บ็อยส์. (ม.ป.ป.). บทบาทของกิเลส : กิเลส คือ “อุปสรรค” หรือ “โอกาส” ต่อการตื่นรู้. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566,จาก https://www.vajrasiddha.com/article-klesha/
พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย. (2563). พุทธจิตวิทยาสำหรับคนชายขอบ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,7(8), 15-29.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (ม.ป.ป.). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566,จาก https://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%A1%D4%E0%C5%CA_10
ภูมิพัฒน์ แดงโสภา. (2561). แนวทางการป้องกันโรคซึมเศร้าตามหลักของอานาปานสติ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. (31 สิงหาคม 2565). อาการซึมเศร้าในเด็กวัยต่างๆ. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566, จาก https://empowerliving.doctor.or.th/case/68
รสพร เพียรรุ่งเรือง, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2558). ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 60(1), 23-34.
รินสุข องอาจสกุลมั่น. (2563). เด็กเศร้าเรารู้ได้ไง ?. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2567, จาก https://ycap.go.th/-/305-เด็กเศร้าเรารู้ได้ไง--
รังสีตะวัน, อัญญ์มนพัทธ์ คำพันธุ์ และพิชญ์พัสวี ปุณญรัตน์กุล. (2561). เทคโนโลยีทางจิต: การจัดการพลังงานด้วยอำนาจของพุทธะ. กรุงเทพฯ: สุนทรฟิล์ม.
วรุณรัตน์ คัทมาตย์. (2566). ผู้หญิงป่วย 'ซึมเศร้า' มากกว่าผู้ชาย 2 เท่า โดยเฉพาะ PMDD ที่ทำให้เศร้าบ่อย. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1092287
วิทมา ธรรมเจริญ และคณะ. (2563). คุณภาพการนอนหลับ และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (รายงานวิจัย). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2566). การใช้นวัตกรรม PROMPT GHOD SIAO HUGS Model. ขอนแก่น: ม.ป.ท.
อุมาพร ตรังคสมบัติ และดุสิต ลิขะพิชิตกุล. (2535). การวินิจฉัยอาการซึมเศร้าในเด็กอายุ 10-15 ปี ด้วย Children’s Depression Inventory (CDI) (รายงานวิจัย). สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.
Bangkokbiznews. (28 กุมภาพันธ์ 2565). ทําอย่างไรเมื่อลูกเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ และอยาก ‘ฆ่าตัวตาย. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/990543
Beck, A. T. (1967). Depression: Clinlcal, experimental, and theoretical aspects. Pennsylvania: University of Pennsylvania.
Parents one. (n.d.) “เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม นำลูกให้ถูกทางด้วยพรหมวิหาร 4”. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2566, จากhttps://www.parentsone.com/using-four-sublime-states-of-mind-for-nursing-kids/
Vacarolis, E.M. (2002). Foundations of psychiatric mental health nursing: A clinical approach. 4th ed. New York: W.B. Saunder.
Weissman, M., Markowiz, J. & Klerman, G. (2000). Comprehensive guide to Interpersonal Psychotherapy. New York: Basic books.