การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธี ผ่านห้องเรียนเมตาเวิร์ส ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธี ผ่านห้องเรียนเมตาเวิร์ส ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบฯ 3) เพื่อศึกษา ผลการใช้รูปแบบฯ ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศหลังเรียนด้วยรูปแบบฯ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3.2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่ต่อรูปแบบฯ และ 4) เพื่อรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2/2566 ที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชา 001226 วิถีชีวิตในยุคดิจิทัล กลุ่ม 1 จำนวน 356 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ 2) แบบประเมินทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่ต่อรูปแบบฯ ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนา ประกอบด้วย 1) หลักการ/แนวคิด
2) จุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียน/ขั้นการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นย่อย 4 ขั้น ได้แก่ 3.1) รู้ปัญหาอย่างแยบคาย (ทุกข์ ร่วมกับ โยนิโสมนสิการ) 3.2) เข้าใจถึงต้นเค้า สาวหาเหตุ (สมุทัย ร่วมกับ สัปปุริสธรรม 7) 3.3) แก้ไขด้วยใจรัก (สมุทัย ร่วมกับ อิทธิบาท 3.4) เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (มรรค ร่วมกับ
กฏไตรรักษณ์) และ 4) การวัดและประเมินผล - รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามีการนำเสนอตามแนวคิดของ Joyce, Weil and Calhoun
มีกรอบในการนำเสนอ 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ที่มาของรูปแบบการเรียนการสอน ตอนที่ 2 รูปแบบการเรียนการสอน ตอนที่ 3 การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ตอนที่ 4 ผลทางตรงและทางอ้อมที่เกิดกับผู้เรียน เมื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพกับผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด - ผลศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ
3.1) นิสิตมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศหลังเรียนด้วยรูปแบบฯ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2) นิสิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่า รูปแบบฯ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศได้ดีขึ้น และเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ยกระดับการเรียนรู้ขึ้นไปอีกขั้น
- ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน ให้การรับรองว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนามีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฐิติวัสส์ สุขป้อม. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวพุทธวิธีเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารเกษมบัณฑิต, 15(1), 56-74.
ดวงเดือน จันทร์เจริญ. (2541). ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เดลินิวส์ ออนไลน์. (2565). นศ.มหา’ลัยดังติดหนี้พนันบอลโลก โดนแก๊งทวงหนี้ยึดรถ อุ้มไปซ้อมปางตาย. สืบค้นเมื่อ 29 มกราม 2567, จาก https://www.dailynews.co.th/news/1768523/
ไทยโพสต์. (2565). ขบวนการ "หลอกใช้เด็ก". สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaipost.net/ columnist-people/125127/
ไทยรัฐ. (2566). หมดหวังได้คืน ญาติเด็กสาว ม.4 ถูกหลอกโอน 3 แสน ฝากเป็นอุทาหรณ์. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://www.thairath.co.th/news/crime/2619505
นรา ตรีธัญญา (2558) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวพุทธศาสน์เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระปลัดราชันย์ ขวัญเมือง. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1627–1640.
พัชราวลัย สังข์ศรี. (2561). พุทธวิธีกับการบริหารการศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11,(1), 1260-1270.
พิชญาภา ยวงสร้อย. (2554) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาด้วยหลักอริยสัจในการทำโครงงาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (25 มกราคม2560). ประโยชน์ของการรู้เท่าทันสื่อมีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://bcp.nbtc.go.th/th/detail/2017-01-25-18-17-48
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล สำหรับพลเมืองไทย Digital Literacy for Thai Citizens. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [สสส.], (2560). 5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2566, จาก https://shorturl.asia/gyEXM
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2563). ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ฉบับสมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2567, จากhttps://shorturl.asia/nXeIc
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช. (2564). ฝึกจิตให้คุ้นชินกับการภาวนา. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://www.dhamma.com/form-mindfulness-habits/
Dek-D. (2565). น้องชายเพิ่งเข้ามหาลัยติดพนันบอลหนักมาก ทำไงดีคะ. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://www.dek-d.com/board/teen/4067009/
Eduverse (2024) Introducing Eduverse The World’s First K-12 Metaverse. Retrieved January 29, 2023, from https://eduverse.com/
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon.
Thai PBS. (2566). เด็ก 16 ถูกหลอกดูยูทูบหารายได้ สูญเงินรวมกว่า 3 แสนบาท. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/324141
The Digital Tips Academy. (20 September 2022). Metaverse คืออะไร เทคโนโลยีสังคมเสมือนจริง สู่โลกอนาคตใหม่. Retrieved March 9, 2023, from https://thedigitaltips.com/blog/news/ metaverse/