การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในชุมชนบ้านตลาดแขก จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
อำนาจ บัวศิริ
ทิพย์ธิดา ณ นคร
อุดม จันทิมา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตลาดแขก 2) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในชุมชนบ้านตลาดแขก 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในชุมชนบ้านตลาดแขก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจการรับรู้ชุมชนสันติสุข แบบประเมินความพึงพอใจ การสัมภาษณ์เชิงลึก กิจกรรมเสวนา การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์สันติสุข โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 66 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านตลาดแขก เป็นต้นแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามหลักคำสอนของแต่ละศาสนามายาวนาน มีความเป็นพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เข้าใจในความแตกต่าง เคารพในความเชื่อของแต่ละศาสนา และแบ่งปันไม่แบ่งแยก 2) ส่งเสริมด้วยกระบวนการในการปฏิบัติการผ่านกิจกรรม ได้แก่ (1) การถอดบทเรียนชุมชน (2) การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครอบครัวในโครงการวิจัย (3) การจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้นำชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านพหุวัฒนธรรม (4) การสำรวจพื้นที่บริบทชุมชน (5) การสร้างเครือข่ายและการสนับสนุนจากภาครัฐ และ (6) กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์สันติสุข ในหัวข้อ “นครบันทึก มรดกวัฒนธรรม ชุมชนบ้านตลาดแขกสันติสุข” เพื่อบันทึกเรื่องราวผ่านการเล่าเรื่องราวจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน วิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันมายาวนานอย่างสันติสุข 3) รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาประกอบด้วย (1) การประสานเครือข่าย (2) สร้างความร่วมมือ (3) เสริมพลังเยาวชน สะท้อนความคิดผ่านมุมมองของเยาวชนโดยใช้แนวทาง UFAS คือ Understand สร้างความเข้าใจ Faith สร้างศรัทธา Appreciate การเห็นคุณค่า Sustainable พัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อปลูกสำนึกสู่เยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2559). ชุมชนสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 26: ถอดบทเรียนชุมชนสันติสุขในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง. รายงานวิจัยสาขาสันติศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2551). พระพุทธเจ้ากับแผนการกู้อิสรภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : เอดิสันเพรส โพรดักส์.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี (เหมประไพ). (2561). ปรัชญาการศึกษา: Philosophy of Education. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(2), 416-429.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2547). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี:ศึกษาวิเคราะห์ กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พลอยภัทรา ตระกูลทองเจริญ. (2557). การศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: หมู่บ้านศาลาแดงเหนือ เชียงรากน้อย. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิโรจ นาคชาตรี. (2553). หลักการปฎิบัติต่อผู้นับถือศาสนาอื่นตามคำสอนของพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม. วิทยานิพนธ์มนุษยศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. (2550). สุนทรียธรรม: หลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมโลกเดียวกันอย่างสันติสุข คริสต์ พุทธ ยูดาห์ อิสลาม ฮินดู, กรุงเทพมหานคร: คบไฟ.

อมรา พงศาพิชญ์. (2552). สิทธิมนุษยชนในมิติวัฒนธรรม. ในการประชุมวิชาการแด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน: วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา. 8-24.

Easwaran. Eknath. (2002). Nonviolent Soldier of Islam: Badsha Khan, A Man to Math His Mountains. California: Nilgiri Press.