การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบ OK5R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย

Main Article Content

อรรถวุฒิ มุขมา

บทคัดย่อ

การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิต การอ่านที่มีประสิทธิภาพจะต้องอ่านแล้วจับใจความสำคัญได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือผู้เรียนเกือบทุกระดับการศึกษามักอ่านจับใจความยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร นักวิชาการทางภาษาจึงหาวิธีการเพื่อให้ผู้เรียนฝึกอ่านอย่างมีขั้นตอนและสัมฤทธิ์ผลในการเรียนรู้ วิธีหนึ่งที่น่าสนใจที่ช่วยให้การอ่านจับใจความสำคัญมีประสิทธิภาพคือ การจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ของ Walter Pauk มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การอ่านอย่างคร่าว ๆ (Overview) 2. หาแนวความคิดหลัก (Key Idea) 3. อ่านแต่ละอนุเฉท (Read-R1) 4. จดบันทึกใจความสำคัญของอนุเฉท (Record-R2) 5. พูดเพื่อระลึกสิ่งที่อ่าน (Recite-R3) 6. ทบทวน (Review-R4) และ 7. สะท้อนความคิด (Reflect-R5) หากผู้สอนมีความประสงค์ให้การจัดการเรียนรู้มีความน่าสนใจกว่าเดิม ควรมีการประยุกต์ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้โดยนำการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่นมาใช้สอนร่วมด้วย เช่น การจัดการเรียนรู้แบบการสร้างแรงบันดาลใจโดยใช้บุคคลต้นแบบ การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง เป็นต้น อันจะนำมาซึ่งการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่ท้าทาย มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมาย และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ นามวิจิตร. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีOK5R เพื่อพัฒนาความสามารถในการ อ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ณฐกร ดวงพระเกษ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยการใช้คำถามตามแนวทางความคิดในระดับสูงของบลูม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเพชรบุรี, 8(3), 130-138.

ธลันหทัย จองสุรียภาส. (2563). ผลการสอนแบบ OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสหวิทยาเขตกลุ่มดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญญา ผลอนันต์และขวัญฤดีผลอนันต์. (2550). Mind Mapping กับการศึกษาและการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว.

เนตรทราย สมถะธัญกรณ์. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบ มัลติมีเดียแบบทบทวนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

พระนครเหนือ.

ปฏิญญา โกมลกิติสกุล. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประไพ บุตรไชย. (2560). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและความพึงใจต่อวิธีการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสะพานเลือกวิทยาคม จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พักตร์วิไล ทวีสิน. (15 กรกฎาคม 2566). ไข้หวัดรักษาได้ด้วยวิธีธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/june-2022/balanced-diet-secret-to-longevity

วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ บรรณาธิการ. (2562). หนังสือประมวลบทความในการประชุมวิชาการ (Proceedings) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562 การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อสังคมที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพ อาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.

ศิริพร ลี้รชตาสุวรรณ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วยวิธี อ่านแบบโอเคไฟว์อาร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสันกำแพง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมคิด อิสระวัฒน์. (2562). ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของคนไทยซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สายฝน ต๊ะวันนา. (2559). แนวข้อสอบ ก.พ.ระดับ 3 ทำได้สอบได้ 100%. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

สุจรรยา พระประพันธ์. (2556). คำที่มีความหมายว่าตายในภาษาไทย. มติชนสุดสัปดาห์, 33(1695), 5.

อรรถวุฒิ มุขมา. (2564). การอ่านวิเคราะห์สาร วินิจสาร และวิจารณ์สาร ใน คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (หน้า 91-94). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

อุษาวดี ชูกลิ่นหอม. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ5R (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Congos W.D. H. (1994). OK5R Study System. Florida: University of Central Florida.

Pauk, W. (1974). How to study. New York: Houghton Mifflin.