การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาหลักสูตรและการสอน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 7 คน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1 หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พัฒนาขึ้นอย่างมีระบบมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติ วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจ (S: Survey) ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์หลักสูตร (A:Analysis) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาหลักสูตร (D: Development) ขั้นตอนที่ 3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (L: Learning Activity Management) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตรเพื่อการสะท้อนผล ER: Evaluation for Reflection) 2 ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีดังนี้ 2.1) ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับดีมาก นักศึกษาสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ มีองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน เป็นไปตามแนวทางการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ได้ตามจุดประสงค์ 2.2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับดีมาก นักศึกษาสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้องชัดเจนเหมาะสมกับระดับของผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้การปฏิบัติและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติ 2.3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี และธัญรัตน์ ภุชงชัย. (2563) การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครผู้ดูแลคน
พิการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (2562) :
กรกฎาคม-ธันวาคม หน้า 291-306
นภาภรณ์ ธัญญา. (2564). การพัฒนาและสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่21 สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. วารสาร
สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 (ธันวาคม 2564) หน้า 347 – 359
พัชรภรณ์ ศุภกิจ และ มาเรียม นิลพรรณ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการจัดการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์สองภาษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูในสาขาประถมศึกษา. วารสารวิจัยการศึกษา
ศิลปากร ฉบับที่. 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563) หน้า 391 -407.
พีชญาณ์ พานะกิจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎี
บัณฑิตสาขาวิชาหลักและการสอน
พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และ พรทิพย์ เขื่อนกัน. (2552). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในการเปลี่ยนแปลง
สังคม. กรุงเทพมหานครศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 37(3) : 87-101 มีนาคม-มิถุนายน
วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาดา : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). คู่มือการคัดเลือกครูต้นแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ออนไลน์ 21 พฤศจิกายน 2566 https://www.kruachieve.com
Creswell, J.W. and Clark, V.L.P. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. 2nd ed. Thousand Oaks: SAGE Publications.
Coyle, D., Hood, P. and Marsh, D. (2010). Content and Language Integrated Learning. Cambridge: Cambridge University Press.
Densak Homhuan and Wareerat Kaewurai (2014). Development of Curriculum to Promote Potential of Learning Management for Community College Teachers. Education Journal Naresuan University, Year 18, No. 2, April-June 2016, pages 13-23
Dick, W., Carey, L. and Carey, J. O. (2015). The Systematic Design of Instruction. 8th ed. New Jersey: Pearson, Inc.
Kruse, K. (2004). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. [Online]. Retrieved December 10, 2016, from http://www.transformativedesigns.com/id_systems .html.
Ministry of Education. (1999). National Education Act 1999. Office of the National Education Commission. Priwan Graphic Co., Ltd., Bangkok
Nillapun, M., et al. (2015). Evaluating a Capability Building Programme for Master Secondary Science Teachers of English Bilingual Education (EBE), Development Division in Singapore.