กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต

Main Article Content

สุทธิพงศ์ เสมสูงเนิน
สุบิน ยุระรัช
พรรณี สมานญาติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยผสมวิธีแบบพหุระยะ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวน 409 โรงเรียน สำหรับผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน คือ ประธานกรรมการ หรือผู้อำนวยการ หรือครูใหญ่ จำนวนโรงเรียนละ 1 คน ในการเลือกตัวอย่างผู้วิจัยใช้เทคนิคการการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด และวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณหาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน และสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน

  2. จุดแข็งของการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ จุดอ่อน คือ ด้านงบประมาณ โอกาส คือ ด้านร่างกาย และด้านปัญญา ส่วนภาวะคุกคาม คือ ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม

  3. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก จำนวน 4 ข้อ คือ (1) ปรับปรุงวัสดุ อุปกรณ์ ให้อำนวยความสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (2) เร่งรัดพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (3) ส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และ (4) สนับสนุนให้มีการระดมทรัพยากร โดยมีกลยุทธ์รอง จำนวน 18 ข้อ

Article Details

How to Cite
เสมสูงเนิน ส., ยุระรัช ส., & สมานญาติ พ. (2024). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(2), 212–230. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/273392
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). ทะเบียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566,จาก https://www.dop.go.th/thai/service_information/1/14

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). วิธีีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ และคณะ. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาพในชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 14(1), 133-162.

สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำ ปี 2562. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์จากชุดข้อมูลกลางเรื่องผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566,จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1687612748-2406_0.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิวัฒชัย พุทธจร. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 250-263.

Creswell, J. W. (2018). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches (5th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Yamane, T. (1973) STATISTICS An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.