ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาที่มีต่อทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

มุสลิม หะยีสะมะแอ
อริยา คูหา
มัฮดี แวดราแม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญา จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าความเชื่อมั่น .86 และ 3) แบบประเมินทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจ มีค่าความเชื่อมั่น .76 ใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังแบบกลุ่มเดียว (One Group Pre-test Post-test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญามีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธิดา นาคะเสถียร. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านดนตรีตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะการดํารงชีวิต (4H) ของนักเรียนเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2(17), 133-141.

จินตนา ไชยวาน. (2557). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

จินตนา สรายุทธพิทักษ์, และ คณะ. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาผ่านความรอบรู้ทางสุขภาพด้วยการจัดและบริหารโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

จุฑามาศ ศรีวิมล. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป โดยใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.

ชมพูนุท ปันนำ. (2562). การใช้กิจกรรมพหุปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและเจคตติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์).

ชูโต กชกร คณะ. (2558). การศึกษาผลของกิจกรรมการชมภาพยนตร์การ์ตูนต่อการทํางานของสมองส่วนบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ.: (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ซามีฮะห์ บุญมาศ. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเชิงสร้างสรรค์ (C-ACACA) บูรณาการสื่อประสมวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ปัตตานี: โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.

ทัศนา แก้วพลอย. (2544). กระบวนการจัดประสบการณ์พัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัย. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

นฤนาด เชิดแสง. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้บูรณาการตามแนวคิดพหุปัญญา (ACACA) และสมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อส่งเสิมพัฒนาด้านสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9 (4), 300-312.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559). Executive Functions (การคิดเชิงบริหาร). หนังสือนิทานสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชรินทร์ พาหิรัญ. (2561). ผลของโปรแกรมสมองจิตใจและการเรียนรู้ต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองในนักเรียนชั้นประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศิวพร สุวรรณมณี. (2560). การจัดการเรียนการสอนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37 (2), 289-308.

สถาบันรามจิตติและราชานุกูล . (2550). โครงการวิจัยติดตามสภาวการณ์ไอคิวและอีคิวของเด็กไทย. กรุงเทพฯ:สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.

สิปปกร บุนนาค, และ ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับผังกราฟิก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(7), 962-975.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). การพัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์รักลูก บุ๊คส์.

อริยา คูหา. (2565). จิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต. ปัตตานี: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2551). กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2551). รายงานการวิจัย การศึกษาผลการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาปฐมวัยในบริบทของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Goodnough, K., & Woods, R. (2000). Student and Teacher Perception of Mind Mapping : A Middle School Case Study. Paper presented at the annual meeting of the american educational research association, (p. 18). New orleans.

Hanmethi, S. (2016). phatthana thaksa samong EF dual kan 'an [Develop Executive Functions by reading). Bangkok: Ideol Digital Print.

Seana, M., & Howard, G. (2012). Hill, Skill, and Will : Executive Function From Multiple-Intelligences Perspective, Executive Function in Education : From Theory to Practice. New York: Guilford Press.