การพัฒนากระบวนการและการสร้างเครือข่ายการแนะแนววิถีพุทธสำหรับบุคลากร ทางการศึกษาในสังคมไทย

Main Article Content

สายหยุด มีฤกษ์
พระสมุห์โชคดี วชิรปญฺโญ
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
พรทิพย์ วรรณวิโรจน์
พระครูปลัดมารุต วรมฺงโล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการสังเคราะห์และถอดองค์ความรู้การแนะแนวต้นแบบในประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมกระบวนการแนะแนววิถีพุทธสำหรับบุคลกรทางการศึกษาในสังคมไทย 3) เพื่อสร้างเครือข่ายกระบวนการแนะแนววิถีพุทธสำหรับบุคลกรทางการศึกษาในประเทศไทย ดำเนินการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลจาก (Documentary Research) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ควบคู่กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนาม (Action Research) มุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิจากศูนย์แนะแนวต้นแบบ 4 จังหวัด 4 โรงเรียน สัมภาษณ์ครูแนะแนวและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 รูป/คน สนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 12 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า 1. การสังเคราะห์และถอดองค์ความรู้การแนะแนวต้นแบบในประเทศไทยมีกระบวนการแนะแนวเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง รู้ขอบเขตความสามารถของตน เห็นคุณค่าของตน มีทักษะและวิจารณญาณในการ ตัดสินและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างฉลาด และวางแนวทางการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและรู้เท่าทัน สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีสุขภาพจิตที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีมีประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม ขอบข่ายการแนะแนวต้นแบบในประเทศไทย แนะแนวเป็นงานบริการแนะแนวในโรงเรียนที่มุ่งให้ความช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ เป็นงานที่มีขอบข่ายการแนะแนว 3 ด้าน คือ การแนะแนวด้านการศึกษา การแนะแนวด้านอาชีพ และการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม 2. การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการแนะแนววิถีพุทธสำหรับบุคลกรทางการศึกษาในสังคมไทย เป็นนวัตกรรมที่เป็นกระบวนการ พัฒนาต่อยอดงานแนะแนวที่ดำเนินการอยู่ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณค่ามากขึ้นโดยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาผสานกับการดำเนินงานแนะแนว ประกอบด้วยโมดูลการฝึกอบรม 6 โมดูล ประกอบด้วย โมดูลที่ 1 คุณค่าของงานแนะแนววิธีพุทธ โมดูลที่ 2 เสริมศรัทธาครูแนะแนววิถีพุทธ  โมดูลที่ 3 ครูแนะแนวหัวใจพุทธ  โมดูลที่ 4 ขอบข่ายงานแนะนววิถีพุทธ โมดูลที่ 5 บริการแนะแนววิถีพุทธสู่การปฏิบัติ 3. สร้างเครือข่ายกระบวนการแนะแนววิถีพุทธสำหรับบุคลกรทางการศึกษาในประเทศไทยมีการจัดประชุมสัมมาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายกระบวนการแนะแนววิถีพุทธ เพื่อหาสมาชิกในการขับเคลื่อนเครือข่าย มีขั้นตอนการสร้างเครือข่าย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นตอนการสร้างผู้นำ 2) ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึก 3) ขั้นตอนการแสวงหาสมาชิกเครือข่าย มีองค์ประกอบของเครือข่าย 1) มีสมาชิกเครือข่าย 5 โรงเรียน 2) มีศูนย์ประสานงานที่ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวคณะครุศาสตร์ และ 3) มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายเพื่อการจัดบริการแนะแนว 5 บริการในสถานศึกษา

Article Details

How to Cite
มีฤกษ์ ส., วชิรปญฺโญ พ., ฐิติโชติรัตนา ว. ., วรรณวิโรจน์ พ., & วรมฺงโล พ. (2024). การพัฒนากระบวนการและการสร้างเครือข่ายการแนะแนววิถีพุทธสำหรับบุคลากร ทางการศึกษาในสังคมไทย. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(3), 382–394. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/272654
บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชวน ภารังกูล. (2552). นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาชายแดนภูมิภาคตะวันตก (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2539). พระพุทธศาสนากับการแนะแนว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

วนัญญา แก้วปาน. (2565). การจัดการบริการแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 33(1). 111-125.

ศิริพร ตันติยมาศ. (2550). รูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลสังกัดกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สรายุทธ อุดม และคณะ. (2564). พุทธวิธีการให้การปรึกษาตามจริตของบุคคล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 199-216.

สายหยุด มีฤกษ์. (2564). นวัตกรรมและผลการใช้นวัตกรรมกระบวนการแนะแนวเชิงพุทธจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างเจตคติทางการศึกษาของนิสิตระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(2), 115-130.