การศึกษาทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการกระบวนการวิจัยกับประชากร และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยมีจำนวนประชากร 7,631 คน และจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 366 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) และใช้ตารางการคำนวณค่า ขนาดกลุ่มตัวอย่างของ (Krejcie & Morgan) กำหนดระดับความเชื่อมันที่ 95 %
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้านและมีผล ดังนี้ 1) องค์ความรู้สำหรับทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก 2) การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก 3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับ มากที่สุด 4) การประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมากที่สุดและมีระดับความเชื่อมั่นขององค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ในระดับ ความเชื่อมั่นที่ 95 %
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑา ภักดีกุล. (2559). เด็กยุคดิจิตอล. สารานุกรม ศึกษาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566.
http://ejournals.sw u.ac.th/ index.php/ENEDU/article/download
นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). “แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ.” ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
สถาบันส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชน. (2553). การส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
Joint Information Systems Committee, (JISC). (2014). Developing Digital literacies: Briefing paper. [Online], Retrieved, September 20, 2023, from :https://digitalcapability.jiscinvolve.org/wp/files/2014/09/JISC REPORT_Digital_Literacies_280714_PRINT.pdf. [24 June. 2021].
Martin, A. (2005). DigEuLit – a European framework for digital literacy: a Progress report. Journal of eLiteracy,2,130-136.Retrieved,September 20, 2023, from http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download? doi=10.1.1.469.1923&rep=rep1&type=pdf
Martin, J. (2010). The Meaning of the 21st Century. Framework for 21st Century Learning. Retrieved, September 20, 2023, from http://21st Century skill. Org/index.php.
Organization, W. H. (1993). Life Skills Education in School. Geneva: WHO.
Krejcie, R. & Morgan, D. (1970). “Determining sample sizes for research activities.” Educational and Psychological Measurement 30: 607-610.
UNESCO’s Information for All Programme (IFAP). (2011). Digital literacy in education. Retrieved, September 22, 2023, from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000214485?
posInSet=1&queryId=242f2a3a-1edd-4395-91d0-83917729e705