อิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่ปรากฏในงานพุทธศิลปกรรมล้านนา

Main Article Content

พระพงษ์ระวี โหลิมชยโชติกุล (อุตฺตรภทฺโท)

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาพุทธศาสนาลังกาวงศ์ 2) เพื่อศึกษางานพุทธศิลปกรรมล้านนา 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่ปรากฏในงานพุทธศิลปกรรมล้านนา 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับอิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่ปรากฏในงานพุทธศิลปกรรมล้านนา การวิจัยนี้เป็นกาวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเน้นการวิจัยเชิงเอกสารด้วยการศึกษาพหุศาสตร์ทั้งพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ศิลปะ และศิลปกรรมล้านนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบแล้วจึงสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวรูปแบบงานพุทธศิลปกรรมล้านนาที่รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาลังกาวงศ์ ผลการวิจัยพบว่า พุทธศาสนาลังกาวงศ์เข้ามาสู่ในดินแดนล้านนาหลายระลอก ตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งอาณาจักร และช่วงที่อาณาจักรล้านนามีความรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ความเจริญดังกล่าวแสดงออกผ่านงานพุทธศิลปกรรมล้านนาเจริญถึงขีดสุดเช่นกัน ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ต่างล้วนได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ์เป็นแบบแผน คติ ในการสร้างสรรงานพุทธศิลปกรรม ในด้านสถาปัตยกรรมมีผลตั้งแต่ในส่วนของผังอาราม วิธีการสถาปนาเจดีย์ รูปทรงเจดีย์ ในส่วนของจารีตการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของพุทธสถานและปูชนียวัตถุ ล้านนาก็รับคติจากตำนานพวกวังสปกรณ์ของลังกาเช่นกัน ในด้านประติมากรรมพบว่ามีรูปแบบพุทธปฏิมาล้านนาที่รับอิทธิพลลังกา มีลักษณะโดดเด่นจากหมวดอื่น โดยมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของพระปฏิมาในลังกาทวีป ในด้านจิตรกรรมล้านนาก็เช่นกัน อิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ์ส่งผลต่อพุทธศิลปกรรมล้านนาจนเกิดกระบวนการสร้างสรรค์ ผ่านภูมิปัญญาวิถีล้านนาที่เป็นดุจดั่งหม้อหลอมรวมวัฒนธรรม จนปรับให้เป็นเอกลักษณ์เด่นของงานศิลปกรรมล้านนาสกุลลังกาวงศ์

Article Details

How to Cite
โหลิมชยโชติกุล (อุตฺตรภทฺโท) พ. . (2024). อิทธิพลพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่ปรากฏในงานพุทธศิลปกรรมล้านนา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(2), 273–287. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/272129
บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2513). ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ 1และภาคที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญสิน.

กรมศิลปากร. (2515). สมบัติศิลปะจากบริเวณเขื่อนภูมิพล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2560). พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มรดกพุทธศาสนสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระ (2538). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ 700 ปี เชียงใหม่. เชียงใหม่:สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.

จันทร์ศรี นิตยฤกษ์. (ม.ป.ป.). ความรู้เรื่องคติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูธนบุรี.

จีรวรรณ แสงเพชร. (2555). ระบบการประดิษฐานพระบรมสารีธาตุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2556). สังเวชนียสถาน และสถานที่สำคัญทางพุทธประวัติในอินเดีย – เนปาล. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2560). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.

โชติ กัลยาณมิตร. (2520). ไตรภูมิในพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมไทย. เอกลักษณ์ไทย,1(3), 90-98.

ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. (2463). ตำนานพระพุทธเจดีย์. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. (2562). ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่ เชียงตุง. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์.

ปานลิขิต ลิขิตกาญจน์. (2564). คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะล้านนาร่วมสมัยในเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผาสุก อินทราวุธ. (2536). อารยธรรมโบราณในจังหวัดลำพูน. เอกสารโรเนียวรายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระพุทธญาณ พระพุทธพุกาม, บำเพ็ญ ระวิน. (2553). แปล. มูลสาสนา สำนวนล้านนา. ม.ป.ท.

พระวาจิสสรเถระ. (2511). พระคัมภีร์ถูปวงศ์ ตํานานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์. พิมพ์เป็น อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางอนุ ทองไข่มุกต์.

พระพงษ์ระวี โหลิมชยโชติกุล. (2563). การสถาปนาเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑล (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รตนปัญญามหาเถระ, พระ, แสง มนวิทูร, ผู้แปล. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง .(2556).พุทธศิลป์ลังกา. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ความหมายของพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). พระธาตุหริภุญไชย: ต้นแบบเจดีย์ “ทรงระฆังแบบล้านนา”. วารสารดำรงวิชาการ, (5),61-62.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2560). เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2555). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. ศ.มจ. (2528). ศิลปในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สันติ เล็กสุขุม. (2555). ศิลปะภาคเหนือ หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และณัฐพงษ์ ปัญจบุรี. (2565). ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับวัดพระเกิด ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: อี.ที.พับลิชชิ่ง.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2526). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและศรี ลังกา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันท. (2519). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทยระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอเดรียน สนอดกราส. (2541). สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. กรุงเทพฯ: อมรินทร์วิชาการ.

Bentor, Y. (1992). Sūtra-style Consecration in Tibet and its Importance forUnderstanding the History of the Indo-Tibetan Consecration: Ritualfor Stūpa and Images. International Association of Tibetan Studies, 1, 1-12.

Griswold, A.B. (1957). Dated Buddha Images of Northern Siam. ArtibusAsiae Supplementum XVI Publishing.