การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผ่านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ

Main Article Content

พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสงฆ์ผ่านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาฉบับมุขปาฐะ 2) พัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาฯ และ 3. เพื่อนำเสนอการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพระสงฆ์ฯ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี เชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเลขานุการ ในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 313 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระสงฆ์และผู้เชี่ยวชาญด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 รูป โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำแนกออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบเชิงรุก ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบเชิงรับ และ ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบผสมผสาน ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบเชิงรุก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.84 ซึ่งเป็นความคิดเห็นในระดับมาก และ  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.45 ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบเชิงรับ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.12  ซึ่งเป็นความคิดเห็นในระดับปานกลาง และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.71 และ ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบผสมผสาน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.68 ซึ่งเป็นความคิดเห็นในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.52  การพัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 1. รูปแบบการท่องจำด้วยวาจาและการสาธยาย 2. รูปแบบการเผยแผ่โดยการพิมพ์ 3. รูปแบบการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ 4. รูปแบบการสื่อสารโดยโทรคมนาคมและดิจิตอล และ 5. รูปแบบการเผยแผ่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาฉบับมุขปาฐะ นำเสนอผ่าน การเผยแผ่ตามประเพณีคณะสงฆ์และตามประเพณีไทย การเผยแผ่แบบปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระครูอาทรวชิรกิจ. (2561). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 3(1), 28.

พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์ (ประเวท ถาฐาน). (2560). กลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 211 - 223.

พระชลญาณมุนี, บุญทัน ดอกไธสง, พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). พระสงฆ์ต้นแบบในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 136.

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). วิพากษ์แนวคิดพระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาลี ไพรสน และ พระครูพิพิธสุตาทร. (2563). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าในบริบทพหุวัฒนธรรมอินเดีย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 93-94.

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพพ. (2539). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ. มหามงกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปภัมภ์.

องอาจ เขียวงามดี และ พระสุทธิสารเมธ. (2563). องค์กรพุทธในประเทศไทย: มิติการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 25(2), 59.