การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

Main Article Content

พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ซึ่งได้กำหนดเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา


ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความความคิดเห็นด้านสภาพแวดล้อม มากที่สุด โดยมีความคิดเห็นในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 รองลงมา คือ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว โดยมีความคิดเห็นในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 และที่น้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีความคิดเห็นในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 และแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนามีคุณค่าต่อคนในชุมชนท้องถิ่น เป็นสถานที่กราบไหว้สักการะบูชาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย นอกจากนี้ การเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวกทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาจำเป็นต้องพัฒนาให้มีความพร้อมในการรองรับให้มากขึ้น รวมทั้งควรให้ความสำคัญด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่าคนในชุมชนเต็มใจต้อนรับนักท่องเที่ยว และคนในชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เช่น การขายสินค้า การให้บริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาควรพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยและหลากหลายมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการใช้ช่องทางประชาสัมพันธ์ทางสังคม เช่น การส่งข่าวสารผ่าน Facebook หรือ Line เนื่องจากการปฏิบัติแบบนี้เป็นวิธีการสื่อสารที่รวดเร็ว ไปได้ไกลและประหยัดเงินมากกว่าช่องทางอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
ศรีสมพงษ์ พ. (2024). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(1), 62–77. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/271985
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2564 (ภาคเหนือ). สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Dashboard.aspx

จิรานุช โสภา และคณะ. (2554). ศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก ของประเทศไทย กรณีศึกษ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย

กำแพงเพชรและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธีรพัฒน์ ตื้อตัน. (2546). ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่วนอุทยานม่อนพระยาแช่ ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พระจำนงค์ ผมไผ และ คณะ. (2563). วัดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางลุ่มน้ำโขง.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 158-170.

พระไพฑูรย์ อารัมภรัตน์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนากรณีศึกษา เขตทวีวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, SU, 6(1), 457-478.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). การนำเสนอทิศทาง การส่งเสริมการท่องเที่ยว ของ ททท. ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก https://tatreviewmagazine.com/article/tourism-direction-2020/

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2529). แนวคิดด้านศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม. จุลสารการท่องเที่ยว, 40-42.

ศิวนิต อรรถวุฒิกุลและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 2392-2409.

สมชาย สนั่นเมือง. (2540). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2564). ระบบทะเบียนวัด. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Dashboard.aspx

สุวรรณา มุ่งเจริญ. (2555). การจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา กรณีศึกษา อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกนรินทร์ ปันยานะ. (2547). มาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ: ศึกษากรณีสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รายงานการวิจัย). สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text (2nd ed.). Sydney: Hodder Education.

Ivanovic, M., Khunou, R., Pawson, T., Reynish, N., Tseane, L., & Wassung, N. (2009). Fresh perspectives: Tourism Development. Cape Town : Pearson.

Middleton, V.T.C. (1994). Marketing in Travel and Tourism. 2nd ed. Oxford: Heinemann Prifessional Publishing.

World Tourism Organization (UNWTO). (2018). Why tourism?. Retrieved September 29, 2023, from http://www2.unwto.org/content/ why-tourism.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper& Row.