รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน

Main Article Content

จุรี ทัพวงษ์
ปวริศา จรดล
นภาภรณ์ ธัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กำหนด 4 ตอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 36 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มอย่างง่าย และครูฝึกสถานประกอบการ จำนวน 14 คน ผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น จำนวน 280 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พบว่า มี 4 แนวทาง
2) รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอน 2.2) กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียน 2.3) การพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการ 2.4) การติดตามและประเมินผลผู้เรียน
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 3.1) ความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมทดลองใช้รูปแบบภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.64, S.D = 0.35)  3.2) ความรู้ ความเข้าใจของผู้ร่วมกิจกรรมทดลองใช้รูปแบบ ภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.28, S.D = 0.47)
4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า 4.1) ผลสัมฤทธิ์สมรรถนะผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สรุปภาพรวมสมรรถนะ จำนวนผู้เรียนที่ผ่านการประเมิน คิดเป็นร้อยละ 95.95 4.2) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ ภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.60, S.D = 0.40)

Article Details

How to Cite
ทัพวงษ์ จ., จรดล ป., & ธัญญา น. (2024). รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(1), 37–50. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/271795
บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ไทธานี. (2559). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ตะวัน เทวอักษร. (2559). สร้าง “ทักษะ” ให้ผู้เรียนพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ บุญมาภิ. (2562). รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารชุมชนวิจัย,12(1), 73-74.

ธีระ รุญเจริญ. (2558). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปรอบ 2และประเมินภายนอกรอบ 3. ขอนแก่น: ข้าวฟ่าง.

นนท์ อนัคกุล. (2560). การนำเสนอแนวทางการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิทยาลัยชุมชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์ศักดิ์ ย้อยเสริฐสุทธิ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพของบุคลากรในอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, 6(2), 14-15.

เรืองแสง ห้าสกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรระยะสั้นโดยใช้โมดูลฝึกอบรมในการจัดการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(2), 52-53.

วศินี รุ่งเรือง. (2560). การประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 176.

สุจินต์ วังใหม่. (2561). การพัฒนารูปแบบศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้นเพื่อชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 227-228.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา. (2563). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2562 รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2561- มีนาคม 2562). สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2554). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2558). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Strickland, A. W. (2006). ADDIE. Idaho State University College of Education Science, Math & Technology Education. Retrieved March 2, 2022. from http/www. ed.isu. edu/addie/index.htm

White, T.A. (1982). Why Community Participation. Annual UN Report. New York: United Nations Children’s Fund.