การพัฒนาเครือข่ายและสร้างความเข้มแข็งของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาลุ่มแม่น้ำโขง

Main Article Content

อุเทน ลาพิงค์
พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย (มูลสาร)
พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ (ธรรมวัฒน์ศิริ)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากิจกรรม การมีส่วนร่วม แนวทางการพัฒนาเครือข่ายและ สร้างกลไกการพัฒนาเครือข่ายและสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์พระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาลุ่มแม่น้ำโขง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ทั้งวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ข้อมูลเชิงปริมาณนั้นทำการเก็บแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายและสร้างความเข้มแข็งของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาลุ่มแม่น้ำโขง พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบสอบถามมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.67 อยู่ในระดับดี และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 ต่อกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายฯ อาทิเครือข่ายมีความเชื่อมโยงร่วมมือกัน มีการสนับสนุนและเปลี่ยนองค์ความรู้และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
2. แนวทางการพัฒนาเครือข่ายและสร้างความเข้มแข็งของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาลุ่มแม่น้ำโขง พบว่า มีการบริหารงานด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ 1) หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการบริหารการพัฒนาเครือข่าย 2) แนวทางการจัดการเครือข่าย 3) องค์ประกอบการพัฒนาเครือข่าย ได้แก่ 1) การรับรู้ที่เหมือนกัน 2) มีมุมมองที่เหมือนกัน 3) มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 4) มีความสนใจหรือผลประโยชน์ร่วมกัน 5) การมีส่วนร่วมของสมาชิก 6) การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน 7) การเกื้อหนุนพึ่งพากัน 8) มีปฏิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน
3. การสร้างกลไกการพัฒนาเครือข่ายและสร้างความเข้มแข็งของพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาลุ่มแม่น้ำโขง พบว่ามีกลไกดังนี้คือ 1) กลไกการสื่อสารรูปแบบออนไลน์ที่ทันสมัย 2) กลไกการประชุมแลกเปลี่ยนและทำกิจกรรรมร่วมกันของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง 3) กลไกการพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์นักเผยแผ่ลุ่มน้ำโขง และ 4) กลไกนวัตกรรมทางความคิดประเด็นการสื่อสารเผยแพร่รูปแบบใหม่ ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก่อสิทธิ์ กองโฉม. (2564, 10 กันยายน). เครือข่ายพระสงฆ์ลุ่มน้ำโขง เผยแพร่พุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dailynews.co.th/article/597162

นันทนา ขุนภักดี. (2530). การวิเคราะห์ความเชื่อของชายไทยในสวัสดิรักษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2544). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บูรกรณ์ บริบูรณ์. (2558). กระบวนการสืบสานเครือข่ายทางสังคมของพระสงฆ์ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม.

พระครูปลัดกิตติพงษ์ กิตฺติโสภโณ (วงศ์สถาน). (2566). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบใฝ่รู้ของโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 12(1), 1-10.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พระพุทธศาสนาในอาเซีย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

วัันชัย พลเมืองดี. (2562). การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม 5 เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(2), 1-13.

สายชล ปัญญชิต, พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, และชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2564). เครือข่ายพระสงฆ์ลาว: กระบวนการสร้างชุมชนและทุนทางสังคมในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1876-1878.

สุนทรี สุริยะรังษี. (2565). การพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนครูพระสอนศีลธรรมในจังหวัดเชียงใหม่. ปัญญา, 29(3), 31-44.