การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษา โดยใช้กระบวนการ STEAM4 Innovator โรงเรียนวิทยปัญญามัธยม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นุศรา สุโง๊ะ
นภาภรณ์ ธัญญา
สุภาพร แพรวพนิต
ศิลปชัย บูรณพานิช
อดิศร ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ 2) พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษคิดสร้างสรรค์  3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษคิดสร้างสรรค์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษาโดยใช้กระบวนการ STEAM4 Innovator กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวิทยปัญญามัธยม กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน  ปีการศึกษา 2565 ซึ่งผู้วิจัยเลือกวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) หลักสูตรภาษาอังกฤษคิดสร้างสรรค์ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ โดยมีการวัดประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านความคิดคล่องแคล่ว (2) ด้านความคิดยืดหยุ่น (3)ด้านความคิดริเริ่ม และ (4) ด้านความคิดละเอียดลออ และ 4) และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และหาประสิทธิภาพของหลักสูตร โดยใช้ E1/E2


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลจากการการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.72) และและมีความต้องการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.20) (2) ผลการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความสำคัญจำเป็นของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมาย ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างเนื้อหา เวลาเรียน โครงสร้างเนื้อหาและเวลา แนวการจัดกิจกรรม สื่อ อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลหน่วยการเรียน 6 หน่วย แผนการจัดการเรียน 6 แผน ใช้เวลาเรียน 36 คาบ ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.51) หลักสูตรมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.08/78.67 และแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.74) (3) ผลการใช้หลักสูตร พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรภาษาอังกฤษคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ .01 และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดีมาก (gif.latex?\bar{x}=4.51) และ (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.55)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิวาวรรณ คล้ายคลึง. (2562). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ขนมพื้นบ้าน อำเภอกงไกรลาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นพดล กองศิลป์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อการเรียนรู้สู่สากลตามแนวทาง STEAM.วารสารวิชาการอุตสาหกรรมการศึกษา, 12(2), 46-57.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). กระบวนทัศน์ใหม่ การ Mentor and Coaching ในสังคมสื่อสารสนเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก http://www.newonetresult. niets.or.th/Announ cement Web/Login.aspx

สุภัค โอฬาพิริยกุล.(2562). STEAM EDUCATION: นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ STEAM EDUCATION: Innovative Education Integrated into Learning Management. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 1-16.

สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์.(2560).การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในยุคประเทศไทย 4.0 ตามแนวคิด STEM, STEAM และ STREAM.วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8(1), 19-30.

ออมสิน จตุพร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดการศึกษาอิงถิ่นฐานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาศึกษา: กรณีชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนจังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Brown, Douglas. (1981). Affective Factors in second Language Learning. In The Second Language Classroom: Direction for the 1980’s. New York : Oxford University Press.

Csikszentmihalyi, Mihaly & Wolfe, Rustin. (2014). New Conceptions and Research Approaches to Creativity: Implications of a Systems Perspective for Creativity in Education, 81-93. 10.1007/978-94-017-9085-7_10

Gabora, Liane. (2013). Research on Creativity. In Elias G. Carayannis (Ed.) Encyclopedia of Creativity, Invention, Innovation, and Entrepreneurship. New Delhi, India: Springer.

Guilford, J. P. (1959). Fundmental Statistics in Psychlogv and Eucation. New York: McGraw-Hill.

Jadhav Megha Sahebrao. (2013). Role of teachers’ in curriculum development for teacher education. Retrieved June 22, 2023, from https://www.researchgate.net/publication

Larsen – Freeman, D. (2000). Techniques and Principals in Language Teaching (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Taba Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcout Braca and World.