แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในประเทศไทย

Main Article Content

สงกรานต์ เม่นทอง
มีชัย สีเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ประชากรที่ใช้ศึกษาในขั้นตอนนี้คือ ผู้จัดการโครงการ วิศวกรหรือสถาปนิก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ควบคุมงานโครงการ ซึ่งได้กำหนดเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มตัวอย่างน่าจะเป็น ด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย โดยใช้จำนวนทั้งหมดจำนวน 93 หน่วยงานก่อสร้าง เนื่องจากขนาดกลุ่มตัวอย่างมีค่อนข้างน้อย ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลทุกหน่วยงานก่อสร้างทั่วประเทศไทยได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน ซึ่งกำหนดให้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูล ในเชิงลึกที่เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 7 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง


ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของ บริษัท
อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ทั้ง 8 ด้านประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำและการจัดการด้านความปลอดภัย 2) การอบรมผู้บริหาร 3) การตรวจสอบความปลอดภัยตามแผน 4) กฎความปลอดภัยของหน่วยงาน 5) การฝึกอบรมพนักงาน 6) การรณรงค์ส่งเสริม 7) การจ้างและบรรจุพนักงาน 8) การควบคุมการจัดซื้อ แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ควรพัฒนาเพิ่มขึ้นทั้ง 8 ด้าน ตามแนวทางที่ได้ศึกษาวิจัยเพื่อเป็นการยกระดับประสิทธิภาพด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดนิตา วิภาวิน และคณะ. (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพการสรรหาพนักงาน บริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 315-328.

รวิศรา สันติมิตร. (2561). การนำนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน ไปปฏิบัติศึกษาบริษัทคาเนมิสึ พูลเล่ย์ จำกัด. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 11(1), 62-70.

สมาน รังสิโยกฤษฏ์. (2535). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

สรญา พุทธขิน. (2560). ทัศนคติความปลอดภัย การรับรู้การปฏิบัติตามกฎหมาย และพฤติกรรมความ ปลอดภัยของพนักงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี (การค้นคว้าอิสระการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิริมา เดชภิญญา. (2561). การรับรู้การจัดการด้านความปลอดภัยของพนักงานบริษัท ABC (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

สุทธิชารัตน์ เจริญพงศ์ และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย: ก้าวใหม่ที่ท้าทายของผู้นำทางพยาบาล. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),15(3), 443-452.

อโณทัย ภูวนวิทยาคม. (2538). ค่าใช้จ่ายและการจัดการด้านความปลอดภัย ในฐานะตัวทำนายความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคเหนือตอนบน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนุชา วงศ์ไพบูลย์.(2539). ผลของระบบการบริหารงานความปลอดภัยสมัยใหม่ที่มีต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุ : กรณีศึกษาการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เอก วรศักดาพิศาล. (2557). การจัดการความปลอดภัยในธุรกิจก่อสร้างขนาดเล็ก ภายในจังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Bird, F. E. & Germain, G. L. (1986). Practical loss control leadership. Georgia,USA: International Loss Control Institute.

Fang, D.P., Huang, X.Y. and Hinze, J. (2004). Benchmarking studies on construction safety management in China. Journal of Construction Engineering and Management, 130(3), 424-432.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.