ผลของโปรแกรมสติบำบัดเพื่อลดความรุนแรงของอาการประสาทหลอนทางหูในผู้ป่วยจิตเภท

Main Article Content

ปภาจิต บุตรสุวรรณ
สกาวรัตน์ พวงลัดดา
รัตน์ดา นราภักดิ์
พุทธวรรณ ชูเชิด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดโดยใช้โปรแกรมสติบำบัดเพื่อลดความรุนแรงของอาการประสาทหลอนทางหูในผู้ป่วยจิตเภท คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทจากแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมสติบำบัดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้เวลาครั้งละ 30 นาที ประกอบด้วยกลุ่มพูดคุยเกี่ยวกับอาการประสาทหลอนร่วมกับการฝึกสติและสมาธิ 5 วันติดต่อกัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบประเมินลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่ว ค่าความเที่ยงอัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .78 2) แบบประเมินอาการทางจิต ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และ 3) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และ สถิติ Mann-Whitney's U test ติดตามผล 1 และ 2 สัปดาห์หลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรุนแรงของอาการหูแว่วในผู้ป่วยโรคจิตเภทภายหลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมสติบำบัดลดลงกว่าก่อนได้รับการบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรุนแรงของอาการหูแว่วในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมสติบำบัดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิดชนก โอภาสวัฒนา. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ธนพล บรรดาศักดิ์. (2564). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท: กรณีศึกษา. เวชสารแพทย์ทหารบก 2564, 74(3),221-232.

ธิดารัตน์ คนึงเพียร. (2548). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการต่อลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่วในผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ. (2559). จิตเวชศิริราช DSM-5 พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย.

นิภา ยิ้มเฟือง, ปภาจิต บุตรสุวรรณ และอริสา สุวรรณทวีลาภ. (2557). การประเมินโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษารูปแบบ SLA. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา, 15(1), 1-7.

ปลดา เหมโลหะ, ประไพ ทยายุทธ และจันทนา เจริญเวช. (2562). การจัดการความเครียดร่วมกับการเจริญสติของผู้ป่วย จิตเภทแผนกผู้ป่วยนอก. สุราษฎร์ธานี: กลุ่มภารกิจการพยาบาลโรงพยาบาลสวนสราญรมย์.

พิมพ์ชนา ศิริเหมอนนต์, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ และอทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง. (2555). การบำบัดการรู้คิด-ปรับพฤติกรรม เพื่อลดอาการทางบวกในผู้ป่วยจิตเภท : การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อใช้ในการปฏิบัติ. วารสารสมาคม จิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(2), 235-248.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชต์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิมลพร เกียรติวุฒินนท์ และคณะ. (2551). ประสิทธิผลของโปรแกรม การจัดการอาการหูแว่วต่อลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่วและอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท. วารสาร สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 2(2), 1-12.

Bergmann, N., et al. (2021). The Relationship Between Mindfulness, Depression, Anxiety, and Quality of Life in Individuals with Schizophrenia Spectrum Disorders. Frontiers in psychology, 12, 708808.

Chadwick P. (2014). Mindfulness for psychosis. The British journal of psychiatry: the journal of mental science, 204, 333–334.

Chadwick, P. et al. (2016). Group mindfulness-based intervention for distressing voices: A pragmatic randomised controlled trial. Schizophrenia research, 175(1-3), 168–173.

Úbeda-Gómez, M.G. et al. (2015). Relationship between self-focused attention, mindfulness and distress in individuals with auditory verbal hallucinations Cognitive Neuropsychiatry, 20(6), 482-488.

Julious, S.A., & Swank, D.J. (2005). Moving statistics beyond the individual clinical trial: applying decision science to optimize a clinical development plan. Pharmaceutical Statistics, 4(1), 37-46.

Liu, Y. C., Li, I. L. & Hsiao, F. H. (2021). Effectiveness of mindfulness-based intervention on psychotic symptoms for patients with schizophrenia: A meta-analysis of randomized controlled trials. Journal of advanced nursing, 77(6), 2565–2580.

Louise, S., Rossell, S. L., & Thomas, N. (2019). The Acceptability, Feasibility and Potential Outcomes of an Individual Mindfulness-Based Intervention for Hearing Voices. Behavioural and cognitive psychotherapy, 47(2), 200–216.

Pandarakalam, J. P. (2016). Pharmacological and Non-Pharmacological Interventions for Persistent Auditory Hallucinations in Schizophrenia British journal of medical practitioners, 9(2), 1-8.

Perona-Garcelán, S. et al. (2014). Relationship between self-focused attention and mindfulness in people with and without hallucination proneness. The Spanish journal of psychology, 17, E20.

Sheng, J.L. et al. (2019). The effects of Mindfulness Meditation on hallucination and delusion in severe schizophrenia patients with more than 20 years’ medical history. CNS Neuroscience & Therapeutics, 25, 147-150.

Silvia Escudero-Pérez, et al. (2016). Dissociation and mindfulness in patients with auditory verbal hallucinations, Journal of Trauma & Dissociation, 17(3), 294-306.

Strauss, C., Thomas, N., & Hayward, M. (2015). Can we respond mindfully to distressing voices? A systematic review of evidence for engagement, acceptability, effectiveness and mechanisms of change for mindfulness-based interventions for people distressed by hearing voices. Frontiers in psychology, 6, 1154. 1-12.

Tsang, A. et al. (2021). The relationship between appraisals of voices (auditory verbal hallucinations) and distress in voice- hearers with schizophrenia-spectrum diagnoses: A meta-analytic review. Schizophrenia research, 230, 38–47.

Turkington, D., Lebert, L., & Spencer, H. (2016). Auditory hallucinations in schizophrenia: Helping patients to develop effective coping strategies. BJPsych Advances, 22(6), 391-396.

Waters, F. et al. (2018). Auditory hallucinations, not necessarily a hallmark of psychotic disorder. Psychological medicine, 48(4), 529–536.