แนวทางการจัดการการสื่อสารในการต่อต้านการก่อการร้ายโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

Main Article Content

ศุภชัย สินธุเศรษฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการการสื่อสารในการต่อต้านการก่อการร้ายโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล และ 2) เพื่อเสนอแนะการจัดการการสื่อสารในการต่อต้านการก่อการร้ายโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า การจัดการการสื่อสารที่พบแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) แบบเป็นทางการ โดยมีการจัดตั้งศูนย์กลางในการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน มีระเบียบ ข้อกำหนด และรูปแบบการสื่อสารที่ชัดเจนตามบทบาทหน้าที่งานและสายการบังคับบัญชาและสั่งการ ในการสื่อสารเชิงป้องกันการก่อการร้าย และ 2) แบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ การใช้ Social Media ในโทรศัพท์มือถือ และการใช้วิทยุสื่อสาร มีความเหมาะสมในการใช้งานในช่วงวิกฤต เนื่องจากมีความรวดเร็วและยืดหยุ่นในการสื่อสาร รวมไปถึงการภายนอกกรณีเหตุการก่อการร้ายเกิดขึ้นรุนแรงจะมีการประสานไปยังหน่วยงานระดับประเทศ เช่น ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เป็นต้น


ทั้งนี้พบปัญหาอุปสรรคที่พบ อุปกรณ์สื่อสาร ในการรับส่งไม่ชัดเจน การฝึกซ้อมในการตอบโต้เหตุรุนแรงทำได้น้อยครั้ง การสื่อสารไปยังกลุ่มคนพิเศษ เช่น ชาวต่างชาติ ผู้พิการทางการได้ยิน การบิดเบือนข้อมูลข่าวสารจากสื่อโซเซียล เป็นต้น โดยข้อเสนอแนะของผู้วิจัย ได้แก่ พัฒนารหัสสำหรับใช้ในการสื่อสารสำหรับโซเซียล การนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนลดภาระของบุคลากร ควรจัดทำมาตรฐานในการปฏิบัติงาน (SOP) และการพัฒนาแนวทางในการสื่อสารกับชาวต่างชาติและผู้พิการ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (2564). ระเบียบปฏิบัติงานฝ่ายรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566, จาก https://www.mrta.co.th/th/security-and-rescue-operations-regulations

ปรีด์เปรม ชัยกิจ. (2559). การจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศธร ศิริสาคร. (2559). ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บอร์น ทูบี พับลิชชิ่ง.

ลักขณา ไทยเครือ. (2554). บทเรียนเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่มไทย กรณีข้อมูลข่าวสาร. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566, จาก http://www.oknation.net/blog/lakthai/2011/10/17/entry-1

Andre, V. (2016). Developing Broadcasting Model to Counter Violent Extremism in Thailand. Australia: Deakin University.