การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาประเทศสู่การเป็นสังคมฐานความรู้(Knowledge – based Society) ภายใต้โลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นตต้องอาศัยวิสัยทัศน์ในการพัฒนานโยบายและวางแผนที่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้ต้องมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการศึกษา ปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นต่อการศึกษาของประเทศ จะทำให้สามารถพัฒนานโยบายและวางแผนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง
การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา เป็นวิธีวิทยาการแบบหนึ่งที่ประยุกต์หลักการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มาใช้ในทางการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ทางการศึกษาที่สามารถเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษา ทั้งระบบการบริหารจัดการศึกษา หลักสูตรและการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการสอนและเทคโนโลยีการศึกษาและการวัดและประเมินผลการศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษพงศ์ อยู่เย็น. (2561). รายงานการพัฒนารูปแบบกิจกรรมบูรณาการลูกเสือเพื่อส่งเสริมค่านิยมหลัก 12 ประการสำหรับนักเรียนในโรงเรียนบ้านสีสุก ห้วยโมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. สกลนคร: ศูนย์พัฒนาวิชาการและบริหารจัดการความรู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21.
ชีวิน จินดาโชติ. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการประเมินผลตามสภาพจริงของครูโรงเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เดชกุล มัทวานุกูล. (2555). รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นเต็มรูป สำหรับนักศึกษาครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
เดชกุล มัทวานุกูล. (2562). ปิดกล่องชอล์ก. รวมบทความวิชาการและบทความวิจัย. สุรินทร์: ส.พันธุ์เพ็ญ.
เดชกุล มัทวานุกูล. (2565). ผลการใช้วิธีการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและวรรณกรรมท้องถิ่น, 8(2), 283-296.
ธเนศ ขำเกิด. (2540). การวิจัยและพัฒนากระบวนการศึกษาที่มีคุณภาพ. วารสารเทคโนโลยี สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น, 24(13),156 – 158.
ธัญวดี มงคลพันธ์. (2544). การพัฒนารายการเทปวิดีทัศน์ฝึกอบรมครูประถมศึกษาเรื่อง รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2531). การวิจัยและพัฒนาการศึกษา. รวมบทความที่เกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 2, 11(4), 21-25.
ภัทรานิษฐ์ พรหมสุรินทร์. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับวิชาแอโรบิคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(3), 49 – 66.
รัตนะ บัวสนธ์. (2559). การวิจัยแบบไร้กำแพงวิชาการ. วารสารราชพฤกษ์, 14 (1), 1–15.
วรางคณา พรเกาะ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสวนพฤกศาสตร์โรงเรียนเรื่องพรรณไม้ในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 120-133.
วีรยุทธ ก้อนกั้น. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 216 -228.