การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของครูผู้สอนรายวิชาวิทยาคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 2) เพื่อพัฒนาและรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 และ 4) เพื่อประเมินและรับรองคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนรายวิชาวิทยา การคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 รูปแบบการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนรายวิชาการคำนวณ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวน 27 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามสมรรถนะความรู้ของครูผู้สอนรายวิชาวิทยาคำนวณ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมฯ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ก่อนเรียน/หลังเรียน) และ 4) แบบการประเมิน Joint Committee on Standards for Educational Evaluation สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test (Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนรายวิชาวิทยาคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () 4.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.31 2) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูผู้สอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย () 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.32 3) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่า คะแนนสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม
และความถูกต้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กันต์ เอี่ยมอินทราม. (2562). การอ่านออกเขียนได้ทางดิจิทัล (Digital Literacy) กับวิทยาการคำนวณ. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com /blog/detail/647968
ครรชิต มาลัยวงศ์.(2557). เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.Drkanchit.com/general_articles/articles/general_24.html
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา:แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์.
ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2561). Computational Thinking กับการศึกษา ไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 322-329.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2559). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2562). การอ่านออกเขียนได้ทางดิจิทัล (Digital Literacy) กับวิทยาการคำนวณ (Computing). สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2565, จาก http://rmutiinfolit.blogspot.com/2018/05/
รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-355.
วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2547). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกาวรัตน์ จรุงนันทกาล (2556). พัฒนาชุดการประเมินสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). จดหมายถึง IMD กรณีสมรรถนะการศึกษาไทยใน เวทีสากล พ.ศ.2562 (IMD 2019): ในชีพจรการศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก http://www.onec.go.th/onec_web/page.php?mod=Eduworld&file=view&itemId=1948
Alice Stein glass. (2561). Codingatschool: aparent’sguideto England’s new Computing. Retrieved September 15, 2022, from https://www.theguardian.com. com/technology/ 2014/sep/04/coding-school-computing-children-programming
Fatma, M. (2006). A System Approach to Program Evaluation Model for Quality in Higher Education. Retrieved September 15, 2022, from http://www.emeraldinsight.com