เบญจศีลกับการจัดระเบียบทางสังคม

Main Article Content

ภัชรา เมฆาวรรณ์

บทคัดย่อ

การจัดระเบียบทางสังคมคือการทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงาม รวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข องค์ประกอบการจัดระเบียบสังคมในทางสังคมวิทยาจะประกอบด้วย วัฒนธรรม โครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม นิเวศวิทยา ครอบครัว ศาสนา เศรษฐกิจและการเมือง ในทางพระพุทธศาสนามีหลักคำสอนและหลักปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคมและการจัดระเบียบทางสังคมเป็นกระบวนการที่สามารถทำให้สังคมมีความสงบสุขและทำให้สังคมมีความยั่งยืน ศีล เป็นกระบวนการทางสังคมซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีพฤติกรรมตามแนวทางที่สังคมหวัง ผู้ปฏิบัติตามศีล 5 ได้ย่อมเป็นคนคุณภาพที่สามารถยกชีวิตให้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งเพราะศีลเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดความเป็นปกติ ด้วยการงดเว้นจากการกระทำความชั่วทั้งทางกายและวาจาโดยการไม่ละเมิดผู้อื่นด้วยการกระทำทางกายและวาจา เป็นการรักษากายและวาจาของผู้ปฏิบัติตามเกิดความปกติสุข ความเรียบร้อยและความสงบสุขในสังคม ช่วยระงับความเดือดเนื้อร้อนใจทั้งตนเองและผู้อื่น และยังเป็นข้อฝึกข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการดำเนินชีวิตประจำวันสำหรับครอบครัวในสังคมไทย ศีลช่วยให้บุคคลควบคุมความประพฤติทางกาย วาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม เมื่อชำระศีลหมดจดศีลจะทำให้สังคมมีความสงบสุขยั่งยืน และเป็นกระบวนการทำให้สังคมดีขึ้น

Article Details

How to Cite
เมฆาวรรณ์ ภ. (2023). เบญจศีลกับการจัดระเบียบทางสังคม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(2), 347–358. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/270103
บท
บทความวิชาการ

References

ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง และคณะ. (2544). สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราสาท หลักศิลา. (2514). สังคมมนุษย์ในด้านพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2538). การพัฒนาจิต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยพระพุทธศาสนา.

พระครูพิศาลถิรธรรม. (2553). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชัยณรงค์ วิทิโต. (2555). การประยุกต์หลักศีล 5 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในสังคม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2545). ธรรมะกับการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). กายหายไข้ ใจหายทุกข์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: การศาสนาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระพุทธโฆษาจารย์. (2538). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระอุบล กตปุญโญ .(2537). การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของศีลที่มีต่อสังคมไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุทธพงศ์ จันทรวรินทร์. (2550). มนุษย์กับสังค : ทฤษฎีและหลักประยุกต์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สมศักดิ์ ศัลยกำธร. (2531). ส่องสว่างทางชีวิต. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์พานิช.

สุพิศวง ธรรมพันทา. (2543). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภูมิไทย.