พระพุทธศาสนากับการอบรมขัดเกลาทางสังคมในครอบครัว

Main Article Content

เลิศสุรชัย หนูสวัสดื์

บทคัดย่อ

กระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคมในระดับบุคคลก่อให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพขึ้น เด็กและผู้ใหญ่พัฒนาบุคลิกภาพขึ้นมาจากการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในสังคม เด็กได้กลายเป็นสมาชิกของสังคมด้วยอิทธิพลของบิดามารดา การที่ทารกซึ่งช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องพึ่งพาผู้อื่นเปลี่ยนแปลงมาเป็นมนุษย์ในสังคมได้โดยกระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคม สิ่งที่สำคัญคือความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอันเป็นผลจากการเรียนรู้การกระทำต่อกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านกระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคม ด้วยเหตุนี้ปัจจัยที่ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลในครอบครัวขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกครอบครัวในกระบวนการสื่อสาร ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของครอบครัวให้มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา การอบรมขัดเกลานำมาซึ่งความสุขความสงบทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ประโยชน์ที่บุคคลได้รับจากการอบรมขัดเกลาเกิดขึ้นกับตนเองโดยตรง จากนั้นก็ส่งผลไปถึงแก่บุคคล
อื่น ๆ ด้วย พระพุทธศาสนากล่าวยกย่องบุคคลผู้ที่ได้อบรมขัดเกลาตนเองมาดีว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะกาย วาจา และใจที่ฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว ย่อมจะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยความดีงาม ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จรรจา สุวรรณทัต. (2547). “ระบบครอบครัวกับระบบสังคม” ในประมวลสาระชุดวิชาจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2562). ปรัชญาทางสังคมแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2552). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2547). “แนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา” ในประมวลสาระชุดวิชาจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาย โพธิสิตา และคณะ.(2543).การศึกษาจิตสำนึกของคนไทยต่อสาธารณสมบัต : กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ณรงค์ เส็งประชา. (2532). มนุษย์กับสังคม (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณรงค์ เส็งประชา. (2537). สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

นพวรรณ โชติบัณฑ์. (2547). “การอบรมขัดเกลาทางสังคมของครอบครัว” ในประมวลสาระชุดวิชาจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปฬาณี ฐิติวัฒนา. (2553). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปฬาณี ฐิติวัฒนา. (2541). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระสุรสีห์ รักประเทศ. (2554). การขัดเกลาทางสังคมของผู้รับศีลปรมัตถ์ กรณีศึกษา: เกตุมดีศรีวรารามตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พูนสุข เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น. กรุงเทพ : ภาพพิมพ์.

เลิศสุรชัย หนูสวัสดิ์. (2565). การขัดเกลาทางสังคมตามแนวพระพุทธศาสน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุเทพ สุวีรางกูร. (2556). สังคมวิทยาเบื้องต้น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2545). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพ : ไทยวัฒนพานิช.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2552).ความสำคัญของครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.owf.go.th/wofa/modules/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

อุสา สุทธิสาคร. (2552). วัฏจักรชีวิตครอบครัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว

Broom, L. and Selznick, P. (1973). Sociology: A text with adapted Readings. New York: Harper and Row.

Hetherington, E. M. and Parke, R. D. (1978). Child Psychology: A Contemporary Viewpoint. Tokyo: McGraw-Hill.

Mercer, B. E. and Merton, R. K. (1958). the Study of Society. New York: Harcourt, Brace and World, Inc.