การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน

Main Article Content

พระภมร ภูริปญฺโญ (ช่อผูก)
พระปลัดอร่าม เรนโท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาวิกฤติศรัทธาในสังคมยุคปัจจุบันกับการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า พุทธศาสนากำลังเผชิญกับการท้าทายสำคัญจากกระแสโลกาภิวัตน์ แต่ในเวลาเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์ก็นำโอกาสใหม่ ๆ มาให้แก่พุทธศาสนาด้วยเช่นกันจึงเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสในขณะเดียวกันจึงทำให้มองเห็นปัญหาและแนวทางในการแก้ไขฟื้นฟูพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัฒน์ การสูญเสียความเป็นผู้นำทางสติปัญญาของคณะสงฆ์ เมื่อสถาบันสงฆ์อ่อนแอลง
ก็หมายความว่าคำสอนทางพุทธศาสนาก็มีอิทธิพลน้อยต่อวิถีชีวิตของผู้คนตามไปด้วย ปัญหาว่าด้วยวิกฤตศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ซึ่งอุบาสกอุบาสิกาบางคนมุ่งเน้นศรัทธาแต่ขาดปัญญาจนไปนำสู่การสนับสนุน และส่งเสริมปัจจัย 4 แก่พระภิกษุบางรูปเกินเลยความจำเป็นต่อการครองตนเพื่อศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแผ่ธรรม และปกป้องธรรมศรัทธาที่ขาดปัญญานำทางยังนำไปสู่การมุ่งเน้นไปที่อามิสบูชาแทนที่จะมุ่งเน้นปฏิบัติบูชา กลุ่มพระสงฆ์ผู้นำศรัทธาพระสงฆ์บางรูปปฏิบัติตนไม่สอดคล้องกับพระธรรมวินัยและตีความพระธรรมวินัยให้สอดรับกับวิถีปฏิบัติของตนหรือกลุ่มตน สำหรับแนวทางในการปฏิรูปฟื้นฟูพุทธศาสนานั้นประกอบด้วย การปฏิรูปว่าด้วยหลักธรรมคือการปฏิรูปหลักธรรมสำคัญที่ถูกละเลยหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน การขยายหลักธรรมให้มีความหมายกว้างขึ้น การบูรณาการศาสตร์อื่นมาเสริมหลักธรรมเดิมและการสังเคราะห์หลักธรรมเพื่อเป็นเครื่องมือทำความเข้าใจโลกสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการช่วยให้พุทธศาสนาสามารถปรับตัวและยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คูณ โทขันธ์. (2545). พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย, กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พรินติงเฮาร์.

ธีรยุทธ บุญมี.(2546). ชาตินิยมและหลังชาตินิยม (Nationalism and Past Nationalism). กรุงเทพฯ: สายธาร.

นวพล ลีนิน. (2563). ทำไมพระสงฆ์จึงมีความสำคัญต่อสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.deepsouthwatch.org/node/4007

พระธรรมโกศาจารย์. (2553). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ: ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). เมืองไทยจะวิกฤต ถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต. พิมพ์ครั้งที่ 17.กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาสายันต์ มหาปุญโญ.(2563). พุทธศาสนากับปัญหาท้าทายในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563,จาก http://www.cybervanaram.net

พระมหาหรรษา ธรรมหาโส. (2563). สถานการณ์พุทธบริษัทในสังคมไทย: ศรัทธาวิปริตหรือวิกฤติศรัทธา. สืบค้นเมื่อ15 กรกฎาคม 2563,จาก http://www.ps.mcu.ac.th/?p=1510

พุทธทาสภิกขุ. (2563). ตัวกูของกู. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.buddhadasa.com/pdf/self.pdf

ภัทรพร สิริกาญจน. (2557). พระพุทธศาสนาในประเทศไทย เอกภาพในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วศิน อินทสระ. (2537). ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธาชมรมกัลยาณธรรม. สมุทรปราการ: บุญศิริ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2560). กรณีธรรมกาย บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน: กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง,