การพัฒนารูปแบบตลาดวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านกลไกรัฐและประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

พิมภัสสร เด็ดขาด
เขมินทรา ตันธิกุล
นพรัตน์ กันทะพิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสำรวจและสังเคราะห์รูปแบบตลาด 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการตลาด 3) เพื่อถ่ายทอดและนำเสนอตลาดวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านกลไกรัฐและประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ประชากรแก่นักท่องเที่ยว กลุ่มผู้ใช้บริการจำนวน 9 แห่ง ตัวแทนตลาด ผู้นำท้องถิ่น พระสงฆ์ ปราชญ์ชุมชน ตัวแทนสถานศึกษาในพื้นที่ ตัวแทนสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด


ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของตลาดมีทั้งแบบโรงเรือน กึ่งโรงเรือน และหาบเร่/แผงลอย ขนาดของตลาดขึ้นอยู่กับพื้นที่และจำนวนของประชากร เวลาทำการของตลาด พบว่ามีทั้งเปิดทุกวันและเปิดบางวันผสมกันไป จุดประสงค์การมาตลาดอันดับสูงที่สุด คือ ชื้อสินค้า จำนวน 540 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ท่องเที่ยว จำนวน 441 คิดเป็นร้อยละ 81.67 และพบปะเพื่อนฝูง จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 2.96 ตลาดที่ผู้ตอบแบบสำรวจเคยใช้บริการมากที่สุดเป็นตลาดแผงลอย/เปิดตามวัน มากที่สุด 540 คน คิดเป็นร้อยละ 98 การสังเคราะห์รูปแบบ พบว่า การบริหารจัดการ มีส่วนร่วมเชิงพหุภาคี การสนทนากลุ่มพบว่า ต้องสะท้อนศักยภาพชุมชนของการจัดการตลาดภายในชุมชน ท้องถิ่น เข้าถึงหลักการท่องเที่ยว เพื่อชื่นชมกับเอกลักษณ์ ความงดงามทางวัฒนธรรมปัจจัยใดที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการท่องเที่ยว มาตรฐาน ปรับปรุงการเผยแพร่ ส่งเสริมการขายตลาดในโลกออนไลน์ แนวทางการพัฒนา พบว่า 1) แนวทางการส่งเสริมด้านชุมชนท้องถิ่น 2) การส่งเสริมด้านวัฒนธรรม 3) การสร้างศักยภาพของชุมชน 4) อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ 5) การสร้างเครือข่ายตลาดเชิงการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนตลาดกลุ่มชาติพันธุ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). การมอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. 2559. คู่มือกลุ่มนโยบายและแผนงาน : คู่มือกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม. แม่ฮ่องสอน: กลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

กิตติ สัจจาวัฒนา. (2560). งานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ รูปแบบงานวิจัยใหม่ที่ท้าทายกระบวนทัศน์การวิจัยของประเทศไทย.วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(1); 3-7.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: วงกมลโพรดักชั่น.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2560). การเปิดเผยข้อมูล CSR ในรายงานประจำปี. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/489436

สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2563. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

สำนักงานสถิติจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2562). แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานสถิติจังหวัดแม่ฮ่องสอน.