รูปแบบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนารามสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

ตระกูล พุ่มงาม
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
สุวัฒสัน รักขันโท

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีรูปแบบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนารามสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบของศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนารามสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อนำเสนอและประเมินรับรองรูปแบบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนารามสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการวิจัยศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนาราม ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ทั้งสิ้น 19 รูปหรือคน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดและทฤษฎีรูปแบบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนารามสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักพุทธธรรมเฉพาะที่สำคัญนำสู่การปฏิบัติให้จิตสงบและเกิดพลังสมาธิ 2) แนวคิดและทฤษฎีจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมและผู้มาปฏิบัติธรรม ได้แก่ แนวคิดและทฤษฎีจิตวิทยาลำดับความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow) 3) แนวคิดสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตย์


  1. รูปแบบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนารามสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบด้านสถานที่ คือ พุทธภูมิสถาปัตยกรรม 2) องค์ประกอบด้านการจัดการอาคารสถานที่ปฏิบัติธรรม 3) องค์ประกอบด้านการจัดการการสอนหลักธรรมและการปฏิบัติธรรม ได้แก่วิปัสสนากรรมฐาน 4) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมที่สัมพันธ์เกื้อกูลกัน

3. ผลการนำเสนอและประเมินรับรองรูปแบบการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุ่มวนารามสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยา มีองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรม คือ 1) ผู้สอน ผู้บรรยาย 2) แนวทางที่ใช้ถ่ายทอดในการปฏิบัติ 3) สถานที่ 4) การประชาสัมพันธ์ 5) การสร้างการรับรู้ ความเชื่อมั่นแก่ผู้ปฏิบัติธรรม 6) การสร้างเครือข่าย 7) ระบบการจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรม 8) ความเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมที่มีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระมหารุ่งเรือง รักขิดธัมโม. (2556). ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน : ศึกษากรณีเยาวชนผู้ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุตกิจสารวิมล (สุดใจ โกติรัตน์) และสงวน หล้าโพนทัน. (2562). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมเชิง พุทธบูรณาการ. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 5(2), 109.

พระครูโสภณพุทธารักษ์ (ธมฺมรโส) และคณะ. (2560). การประยุกต์หลักสัปปายะ 7 เพื่อพัฒนาครูสมาธิรุ่น 39สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 73 วัดพระงาม จังหวัดตรัง (วิทยานิพน์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน (วิจารณ์ปรีชา). (2562). รูปแบบการพัฒนาการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณทิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระลิขิต ทินฺนปญฺโญ (เมืองจันทร์). (2560). รูปแบบการจัดการสัปปายะในสำนักปฏิบัติธรรมภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13 (ฉบับพิเศษ), 43.

พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์). (2562). รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณทิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภคชาติ เตชะอำนวยวิทย์. (2565). การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อให้เกิดความสัปปายะเพื่อนำไป ออกแบบวัดป่าวิมุตตยาลัย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12, 17.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2551). คู่มือปฏิบัติงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.