การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนที่มีความต้องการการดูแลพิเศษ ตามหลักพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

ภริมา วินิธาสถิตย์กุล
สิริลักษณ์ มณีรัตน์
จิระ จิตสุภา

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนที่มีความต้องการการดูแลพิเศษตามหลักพุทธจิตวิทยา เป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทางการศึกษาที่สามารถจะนำไปปรับใช้หรือประยุกต์เข้ากับการทำงานของตนเอง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความต้องการการดูแลพิเศษ ประกอบด้วย 1) ผู้สอนต้องเป็นกัลยาณมิตรเป็นผู้ที่มีความรักและเมตตาผู้เรียน มีความอดทนที่จะบ่มเพาะพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
โดยมุ่งผลความดีงามต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยปัญญา 3 ได้แก่ สุตมยปัญญาเป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้รับรู้ถึงความรู้สึกที่หวังดีปรารถนาดีต่อผู้เรียน จินตามยปัญญาเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมภาวะอารมณ์ทีดีของผู้เรียน และสุดท้ายคือ ภาวนามยปัญญาเป็นส่งเสริมการฝึกทักษะจากการปฏิบัติจริง คือให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง และ 3) พัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมที่ไม่ใช่แค่ให้เรียนรู้ในห้องเรียนเท่านั้นแต่กระบวนการจะต้องส่งเสริมผู้เรียนทั้งด้าน 1) ฐานกาย คือ มีร่างกายแข็งแรง มีทักษะการใช้ร่างกายที่ดี และดูแลสุขภาพกายดี 2) ฐานจิตใจ ส่งเสริมให้เกิดการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ เข้าใจสภาวะจิตตนเองที่เกิดขึ้นและรู้จักวิธีแสดงออกอย่างสมควร 3) ฐานสังคม เป็นการสร้างความร่วมมือที่ทุกฝ่ายควรมีส่วนในการส่งเสริมเด็กที่ต้องการการดูแลพิเศษ และฝึกทักษะการเข้าสังคม การทำงานเป็นทีม บทบาทหน้าที่อันเหมาะสมสำหรับตนเอง และ 4) ฐานปัญญา คือการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข พัฒนาตนเองด้วยการศึกษา แก้ไขและพัฒนาตนเองได้อย่างที่ตนเองต้องการ เรียนรู้อยู่เสมอ และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ

Article Details

How to Cite
วินิธาสถิตย์กุล ภ., มณีรัตน์ ส., & จิตสุภา จ. (2023). การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนที่มีความต้องการการดูแลพิเศษ ตามหลักพุทธจิตวิทยา . วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(2), 303–320. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/269120
บท
บทความวิชาการ

References

กรองทอง จุลิรัชนีกร. (2554). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ

เมษายน 2566, จาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.-พรบ.-การจัดการศึกษา-ฉ1.pdf.

เกยูร วงศ์ก้อม. (2548). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

จริยา ตรุษฎี. (2562). แนวทางการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2553). การจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 3(1), 1-7.

ดนัย ไชยโยธา. (2552). พจนานุกรมพุทธศาสน์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล และบัณฑิตา ลิขสิทธิ์. (2561). การเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเข้าสู่อาชีพ. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 12(2), 25-33.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2562). การศึกษาพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566, จาก http://www.happy homeclinic.com/specialeducation.htm

นารีรัตน์ เจริญเดช. (ม.ป.พ.). ความหมายและหลักการการจัดการศึกษาพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566, จาก http://elearning.psru.ac.th/courses/232/k1.1.pdf

ประภาศรี นันท์นฤมิต. (2564). การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 3(1), 51-70.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). หลักก่อนแล้วศึกษาและสอนให้ได้ผล. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). รู้หลักก่อนแล้วศึกษาและสอนให้ได้ผล. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์. (2550). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีซานา อับดุลเลาะ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 227-246.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 65-75.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานการติดตามการศึกษาเพื่อปวงชนระดับโลก: ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์ (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1,2) 39-48.

Gyasi, M.N.K., Gyasi, A.K. and Anku. J.S.A. (2020). Teachers’ Knowledge of Special Educational Needs and Disability Students and Their Classroom Management Approaches. World Journal of Education, 10(4), 160-172.