รูปแบบการดูแลชีวิตระยะท้ายบนฐานทุนวัฒนธรรม

Main Article Content

ยุทธนา วรุณปิติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดูแลคุณภาพชีวิตและรูปแบบการดูแลชีวิตระยะท้ายจากกรณีศึกษา 2) สังเคราะห์แนวคิดและรูปแบบการดูแลชีวิตระยะท้ายบนฐานทุนวัฒนธรรม เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการลงพื้นที่ การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้นำองค์กรด้านการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย 5 แห่งแตกต่างกันตามปัญหาสุขภาพต่างช่วงเวลา ประกอบด้วย สถานดูแลผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย วัดพระบาทน้ำพุ ,อโรคยาศาล สถานบริบาลผู้ป่วยมะเร็ง ,กลุ่มคิลานธรรม,ชมรมชายผ้าเหลืองเพื่อเพื่อนผู้ป่วยระยะท้าย,ชีวามิตรวิสาหกิจเพื่อสังคม เก็บข้อมูลวิจัยระหว่าง พฤศจิกายน พ.ศ. 2564-กันยายน พ.ศ.2565


ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการดูแลชีวิตระยะสุดท้ายบนฐานทุนวัฒนธรรม มีองค์ประกอบ ดังนี้
1. ทุนทางวัฒนธรรมในตัวบุคคล ได้แก่ผู้นำองค์กร 2. ทุนวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของสังคม-ชุมชน 3. พินัยกรรมชีวิตซึ่งเป็นมิติทางกฎหมายในการแสดงเจตนาและมิติทางจิตวิญญาณ  2) องค์ความรู้จากการศึกษานี้สามารถสังเคราะห์เป็นรูปแบบการดูแลชีวิตระยะท้ายเพื่อการตายอย่างสงบ  ได้แก่ แนวคิดปลูกต้นไม้จิตปัญญาในสวนพระพุทธเจ้า หรือการพัฒนาจิตและปัญญาของบุคคลที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการตายดี


ผู้วิจัยเสนอแนะว่ารูปแบบการดูแลชีวิตระยะสุดท้ายบนฐานทุนวัฒนธรรม มี 3 รูปแบบที่เหมาะสม คือ
1. รูปแบบการดูแลชีวิตระยะท้ายที่บ้านและชุมชน 2. รูปแบบสถานบริบาลชีวิตระยะท้าย(Hospice)ในบริบทท้องถิ่น และ 3. รูปแบบสถานบริบาลโดยวัดหรือองค์การทางศาสนา ซึ่งทุนทางวัฒนธรรมและการสนับสนุนจากสังคมเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินกิจกรรมการดูแลชีวิตระยะสุดท้ายทำให้องค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐสามารถอยู่รอดและดำเนินกิจกรรมการดูแลชีวิตระยะสุดท้ายได้อย่างต่อเนื่อง จึงควรสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
วรุณปิติกุล ย. (2023). รูปแบบการดูแลชีวิตระยะท้ายบนฐานทุนวัฒนธรรม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(3), 500–508. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/267631
บท
บทความวิจัย

References

กมลพร สกุลพงศ์.(2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่ใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง กรณีศึกษาบ้านปันรัก สุราษฎร์ธานี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(ฉบับพิเศษ), 90-103.

กิติกร นิลมานัตและคณะ.(2562). การดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องจากรพ.สู่บ้านในบริบทภาคใต้. วารสารสภาการพยาบาล, 34(2),76-93.

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์และคณะ.(2561). สถานการณ์ Hospice Care. ในประเทศไทย.โครงการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อการพัฒนาระบบบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ( Hospice Care) ในประเทศไทย (รายงานวิจัย).สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ประธาน ศรีจุลฮาด.(2564). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 219-232.

ปิแอร์ บูร์ดิเยอ.(2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. แปลโดย ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ปิยะวรรณ โภคพลาภรณ์ และคณะ. (2560). ความสำเร็จในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายในสถานบริการสุขภาพโดยองค์กรศาสนา: กรณีอโรคยศาล วัดคำประมง สกลนคร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,27(2),198-213.

พระมหาโยธิน โยธิโก และคณะ. (2563). การสร้างสมดุลและการรักษาต้นทุนธรรมชาติเชิงพุทธของเครือข่ายป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์.(2559). ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน เครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา,13(1), 25-36.

ยอดลัก สัยลังกา.(2564). ผู้ป่วยระยะสุดท้าย“ความจริงกับความหวัง” มุมมองผู้ป่วย ผู้ดูแลและชุมชนอีสานตอนบน.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน,7(2), 99-117.

ศิริรัตน์ ปานอุทัย.(2563). การพยาบาลแบบประคับประคองในผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 47(1), 454-466.

วรนุช วงศ์เจริญและคณะ.(2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลปง จังหวัดพะเยา.วารสารโรคและภัยสุขภาพ,14(2),26-37.

สุรศักดิ์ ไชยสงค์และคณะ.(2565). ผลตอบแทนทางสังคมของการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษาตำบลสะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข,16(1),16-33.

สามารถ ใจเตี้ย.(2559). วัฒนธรรมสุขภาพชุมชนลุ่มน้ำลี้ จ.ลำพูน,วารสารพยาบาลวิทยาลัยบรมราชชนนี นครราชสีมา,22(2),62-73.

สะอาด มุ่งสินและจรูญศรี มีหนองหว้า.(2558). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามวิถีชุมชนในสังคมวัฒนธรรมอีสาน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลโพธิ์ใหญ่อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,6(1),89-104.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2562). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ.พิมพ์ครั้งที่ 35.กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

เพียงพิมพ์ ปัณระสี และภัทราบูลย์ นาคสู่สุข.(2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,32(1),40-55.