ผลการจัดกิจกรรมการดูแลให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการให้คำปรึกษา ด้านวิชาการและการใช้ชีวิต สำหรับนักศึกษาผู้รับทุน

Main Article Content

วชิระ พิมพ์ทอง
ปาริชาต เตชะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลการการจัดกิจกรรมการดูแลให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการใช้ชีวิต สำหรับนักศึกษาผู้รับทุน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาผู้รับทุนโครงการครูรัก(ษ์) ถิ่น โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร รุ่นที่ 1 จำนวน 32 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดกิจกรรมการดูแลให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการใช้ชีวิต สำหรับนักศึกษาผู้รับทุน 2) แบบประเมินความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการใช้ชีวิต สำหรับนักศึกษาผู้รับทุน 3)แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการดูแลให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการใช้ชีวิต สำหรับนักศึกษาผู้รับทุนวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1) การประเมินความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการใช้ชีวิต สำหรับนักศึกษาผู้รับทุน โดยใช้รูบริกแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาผู้รับทุน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลผลค่าเฉลี่ยเทียบกับเกณฑ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการใช้ชีวิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมการดูแลให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการและการใช้ชีวิต สำหรับนักศึกษาผู้รับทุน มีคะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกกลุ่ม และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาผู้รับทุน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตวรรณ คำสม. (2554). การศึกษาและการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาในการให้คำปรึกษาแก่เพื่อน (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยตรีนครินทรวิโรฒิ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ลาดพร้าว.

กรมสุขภาพจิต. (2558). รายงานประจําปีกรมสุขภาพจิต ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปวริศา ศิรินันท และเสรี ใหม่จันทร์. (2561). การพัฒนาสมรรถนะในการให้การปรึกษาแก่เพื่อนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44 (1), 118-120.

ปาริชาต รัตนราช. (2559). การพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือและการให้คําปรึกษานักศึกษาพยาบาล(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). การจัดทำแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2574) การประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำแผนร่างแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2574). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวัสดา คำผิว. (2553). ผลของชุดฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะการให้คําปรึกษาสําหรับครูที่ปรึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 10(3), 127-134.