การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ “กึมม๊วก: สาน-ศาสตร์-ศิลป์ ร่องรอยวัฒนธรรม และภูมิปัญญา” โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพื้นที่เกาะ จังหวัดสตูล

Main Article Content

เกศริน บินสัน
อลิสรา ชมชื่น
ศักรินทร์ ชนประชา
อดิศร ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ และ 2) พัฒนาหลักสูตรบูรณาการ “กึมม๊วก: สาน-ศาสตร์-ศิลป์ ร่องรอยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา” โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพื้นที่เกาะ จังหวัดสตูล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง เอกสารประกอบการสนทนากลุ่มแบบประเมินความเหมาะสมหลักสูตรบูรณาการ และแบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ควรมีการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพและทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต 2) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 “กึมม๊วก: สาน-ศาสตร์-ศิลป์ ร่องรอยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา” มีการบูรณาการเนื้อหาสาระ 5 ด้าน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ มี 9 องค์ประกอบ คือ ความเป็นมา หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา โครงสร้าง เวลาเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 20 ชั่วโมง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ สาระน่ารู้กึมม๊วก(เตยทะเล) โคมไฟหรรษากึมม๊วก และเทคโนโลยีและการจำหน่าย มี 10 แผนการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน คุณภาพหลักสูตรบูรณาการและแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า คุณภาพของทั้งหลักสูตรบูรณาการและแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเหมาะสมสอดคล้องภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.79)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์. (2559). ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพ กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่สั้น อำเภอแม่เมาะจังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ไกรยส ภัทราวาท. (2564). บทความเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/thailand4.pdf

ชฎารัตน์ บุญจันทร์. (2561). การจัดการทรัพยากรชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนเกาะหลีเป๊ะตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2558). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง.(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.

นฤมล ขุนวีช่วยและคณะ. (2553). ชีวิตและวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโว้ยแห่งทะเลอันดามัน (รายงานวิจัย).มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 50-56.

รวิธ รัตนไพศาลกิจ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2564). การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (SMT) สู่อาชีพของเยาวชนให้มีวิถีชีวิตโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสื่อทำมือสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขตพื้นที่เกาะจังหวัดสตูล. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(17),155-171.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเสมียนนารี กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2562). STEAM Education: นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1),1-16.

สาลินี อุดมผล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการอาชีพเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และคุณลักษณะด้านอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 จังหวัดสตูล. (2565). การติดตามสภาพปัญหาเด็กวัยเรียนหลุดจากระบบการศึกษา (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory Practice. New York: McMillan.