การพัฒนาตนสู่ความสำเร็จด้านการพูดของพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

Main Article Content

เชน นคร
พระมหาภราดร ภูริสฺสโร

บทคัดย่อ

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ประสบความสำเร็จด้านการพูด กล่าวคือ เป็นนักเทศน์ เป็นนักแสดงปาฐกถาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกว่า เป็น keynote speaker ได้รับนิมนต์ไปแสดงปาฐกถาธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และไปบรรยายธรรมในสถานที่ต่าง ๆ ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังทั่วโลก นอกจากนั้น ยังดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ซึ่งเป็นต้นตำรับการเทศน์แบบสาลิกาป้อนเหยื่อ การพัฒนาตนของท่าน เริ่มจากการฟังแล้วเกิดความประทับใจในการพูด แล้วพัฒนาตนด้วยการติดตามนักพูดที่มีชื่อเสียง เริ่มต้นการพูดด้วยการโต้วาทีซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น จากนั้นจึงเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) โดยลำดับ จนสามารถแสดงธรรมต่อหน้าสาธารณชนได้ การที่พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ประสบความสำเร็จได้เช่นนี้ ก็ด้วยอาศัยแนวคิดทางจิตวิทยา ได้แก่ แรงบันดาลใจ (Inspiration) ทฤษฎีต้นแบบ (Modeling theory) ทฤษฎีตัวตน (Self- theory) การวิเคราะห์ตน (Self-analysis) และหลักพุทธธรรม ได้แก่ ปฏิรูปเทส และสาลิกาป้อนเหยื่อ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตน

Article Details

How to Cite
นคร เ., & ภูริสฺสโร พ. (2023). การพัฒนาตนสู่ความสำเร็จด้านการพูดของพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(1), 133–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/266669
บท
บทความวิชาการ

References

ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์. (2560). จิตวิทยากับการพัฒนาตน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551). ประวัติวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 180 ปี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). หลักแม่บทของการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2559). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2562). ประวัติวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 180 ปี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2565). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สหไทย ชัยพันธ์. (2555). แนวคิดทฤษฎีการพูดสื่อสารในสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนครินทร์, 4(3),140-154.

สัมภาษณ์ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร. 20 กุมภาพันธ์ 2561.

สิริอร วิชชาวุธ และคณะ. (2547). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรสา รัตนวงษ์. (2533). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: มิตรภาพ.

Ernest R. Hilgard, Richard C. Atkinson, Rita L. Atkinson. (1976). Introduction to Psychology. Sixth edition. New Delhi: Oxford & IBH Publishing.

Maslow, A.H. (1954). Psychological Review. New York, NY: Harper & Row Publishers.