การศึกษาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากเทคโนโลยีสารสนเทศห้องคลินิกภาษาอังกฤษที่มีต่อทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

วีระกาญจน์ กนกกมเลศ
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติ
ณรงค์ชัย ปิ่นทรายมูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศห้องคลินิกภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 100 รูป/คน เนื่องจากประชากรเป็นนิสิตสามารถควบคุมได้และเป็นจำนวนนับร้อย ผู้วิจัยจึงใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างจึงใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างคือจำนวน 100 รูป/คน ทำการทดลองก่อนและหลังการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศห้องคลินิกภาษาอังกฤษ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามครอบแนวคิดและทฤษฎี ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มก่อนและหลังการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พบว่า ก่อนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศห้องคลินิกภาษาอังกฤษ ได้คะแนนค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 2.07, SD= 0.74) หลังมีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศห้องคลินิกภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับ “มาก” (gif.latex?\bar{x}= 4.30, SD= 0.87)


ผลการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษจากแบบทดสอบการใช้คำศัพท์ คิดเป็นร้อยละ พบว่า ก่อนมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศห้องคลินิกภาษาอังกฤษ ของนิสิตได้คะแนนร้อยละ 40 หลังการเรียนรู้จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศห้องคลินิกภาษาอังกฤษ ได้คะแนนร้อยละ 60 ในกลุ่มคำศัพท์เกี่ยวกับอารมณ์ ก่อนมีการเรียนรู้ได้คะแนนโดยรวมร้อยละ 39 และหลังการเรียนรู้ได้คะแนนร้อยละ 61 กลุ่มคำศัพท์เกี่ยวกับอากาศ ก่อนมีการเรียนรู้ได้คะแนนโดยรวมร้อยละ 34 และหลังการเรียนรู้ได้คะแนนร้อยละ 66 กลุ่มคำศัพท์เกี่ยวกับสุขภาพก่อนมีการเรียนรู้ได้คะนน ร้อยละ 35 และหลังการเรียนรู้ได้คะแนนร้อยละ 70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เยาวภา สงวนวรรณ. (2540). การออกแบบเว็บกราฟฟิกด้วย HTML 3.2. กรุงเทพฯ: เฟิสท์แปซิฟิค มีเดีย.

กรมวิชาการ. (2542). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

พรพิมล ริยาย และธนางกูร ขำศรี.(2555). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยงยุทธ์ จันทิมา. (2555). ผลการพัฒนาและเลือกนวัตกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ ภาค เรียนที่ 1 (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ลลิดา ภู่ทอง. (2552). ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนบน (รายงายวิจัย). มหาวิทยาลัยแม่โจ.

สายสุดา ปั้นตระกูลและคณะ. (2555). การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน ระดับอนุบาลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Reid, J. M. (1987). The learning style preferences of ESL students. TESOL Quarterly, 21(1), 87-111.