โลกธรรม 8 ในชีวิตประจำวัน

Main Article Content

พระครู กาญจนธรรมาภรณ์
พระครูใบฎีกาทัตพล จนฺทวํโส (แผลงปาน)
พระครู กาญจนกิจโสภณ

บทคัดย่อ

พระพุทธองค์ได้ทรงวางกฎเกณฑ์ความเป็นจริงเกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ที่จะต้องพบเจออยู่เสมอ ไม่สามารถหลีกพ้นได้ คือ หลักโลกธรรม 8 ได้แก่ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุขและทุกข์ ซึ่งหลักความจริงบนโลกทั้งแปดประการนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ผู้ร่ำรวยหรือยากจน มีลักษณะรูปพรรณเช่นไร ก็ต้องพบเจอด้วยกันทุกคน ทั้งสิ้น โลกธรรม 8 แบ่งได้เป็นฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีไม่มีมนุษย์คนใดในโลกจะพบเจอกับด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวไปได้ตลอดเวลา


หลักธรรมสำคัญที่ควรนำมาประยุกต์ใช้กับโลกธรรม 8 คือ พระไตรลักษณ์ กฎเกณฑ์ที่เป็นสามัญลักษณะ 3 ประการ ของสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ที่เป็นความจริงเสมอ ได้แก่ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน เมื่อมองเห็นสรรพสิ่งเป็นไปตาม กฎแห่งสามัญลักษณะอย่างรู้เท่าทันแล้ว ยามที่จะต้องพบเจอกับอารมณ์ที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจนั้น จำเป็นจะต้องใช้ขันติธรรม ความอดทน ควบคู่ไปด้วยเสมอ


เมื่อมนุษย์มีความอดทน มองสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความจริง เป็นเรื่องธรรมดา ย่อมสามารถ ผ่านพ้นสภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้เป็นอย่างดี ยามใดที่ประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ ให้ใช้ ความอดทน ข่มใจ ย่อมผ่านพ้นสิ่งเหล่านั้นไปได้ด้วยดี หรือหากต้อบพบเจอเรื่องราวดี จงมองให้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ว่า ความดีเหล่านั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ย่อมนำพาให้ชีวิตผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเสมอ

Article Details

How to Cite
กาญจนธรรมาภรณ์ พ., จนฺทวํโส (แผลงปาน) พ., & กาญจนกิจโสภณ พ. (2023). โลกธรรม 8 ในชีวิตประจำวัน. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(1), 110–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/266448
บท
บทความวิชาการ

References

จันทร์ธิภา แสวงทรัพย์ และคณะ. (2560). แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการอยู่กับโลกธรรมในพระพุทธศาสนา เถรวาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 585-600.

บุญมี แท่นแก้ว. (2542). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2559). พุทธศาสนาเถรวาท. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ปิ่น มุทุกันต์. (2535). พุทธศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์, (ทองดี สุรเตโช, ราชบัณฑิต). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสนา “คําวัด”. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระโพธิญาณเถร, (ชา สุภทฺโท). (2560). อุปลมณี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์.

พระเทพวิสุทธิเมธี, (ปัญญา นันทภิกขุ). (2550). สัจจธรรมเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดา. กรุงเทพฯ:ธรรมสภา.

พระธรรมโกศาจารย์, (พุทธทาสภิกขุ). (2551). พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน, (ภาวิไล). (2551). ปฏิจจสมุปปบาทสำหรับคน รุ่นใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือโกสินทร์.

พระมหาสมชาย ฐานวุฒโฑ. (2547). มงคลชีวิต “ฉบับทางก้าวหน้า”. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2547). สวรรค์ นรก บุญ บาป ในพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ธรรมดา.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (เจริญ สุวฑฺฒโณ). (2556). 100 บทพระนิพนธ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2555). พุทธสาวก พุทธสาววิกา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.