พุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่น

Main Article Content

พรทิพย์ เกศตระกูล
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของพลังใจ การเห็นคุณค่าแท้ในชีวิต และการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบพุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่น และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่น ใช้วิธีวิจัยผสานวิธีขั้นสูงแบบประเมินหลายขั้นตอน โดยระยะที่ 1, 2 และ 5 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/ท่าน และการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 รูป/ท่าน ระยะที่ 3 และ 4 ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถามพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิต โปรแกรมกิจกรรมพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิต และแบบคำถามประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 454 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้า และ QDAT Knowledge วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และสถิติ t-test ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (Lisrel)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. คุณลักษณะของวัยรุ่นที่เห็นคุณค่าแท้ในชีวิต พบว่า มีคุณลักษณะ 4 ประการคือ 1) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ สัมมาทิฏฐิ 2) ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องดีงาม 3) มีความสุขในแบบของตน 4) ทำประโยชน์เพื่อตนและผู้อื่น แนวทางการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่นตามแนวพุทธจิตวิทยา ได้แก่ 1) การได้ทำในสิ่งที่ชอบ 2) การฝึกสมาธิ และ 3) การครองสติให้มั่น
2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจในการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่น มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ และมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่จะนําไปสู่การเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่นตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะของวัยรุ่นที่มีพลังใจ 2) ปัจจัยเกื้อกูลด้วยปัญญา และ 3) ปัจจัยเสริมภายนอก ผลการตรวจสอบโมเดลพบว่า มีความถูกต้องในเชิงทฤษฏี มีความเป็นไปได้ และมีความเหมาะสมในเชิงปฏิบัติ
3. ผลการนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจในการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่นพบว่า มีความถูกต้องในเชิงทฤษฎี มีความเป็นไปได้และมีความเหมาะสมในเชิงปฏิบัติ การจัดโปรแกรมให้วัยรุ่นได้เรียนรู้จากการมีประสบการณ์ตรงผ่านกิจกรรมที่ชอบ และการสะท้อนคิด สามารถช่วยให้วัยรุ่นเห็นคุณค่าแท้ในชีวิต เข้าใจความหมายของชีวิต และมีความพึงพอใจในตนเอง

Article Details

How to Cite
เกศตระกูล พ., ศรีเครือดง ส., & ภูวชนาธิพงศ์ ก. (2023). พุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของวัยรุ่น. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(1), 30–42. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/266038
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการดูแลสุขภาวะด้านจิตใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง.

ทิพย์สุดา โกยวาณิชย์ และคณะ. (2556). ผลของการปรึกษากลุ่มตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาของวัยรุ่น. วารสารศึกษาศาสตร์, 24 (2), 47-61.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2551). คู่มือจัดกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปริญญา ชะอินวงษ์. (2563). การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34 (3), 133.

พระธรรมมงคลญาณ (พระอาจารย์ วิริยังค์ สิรินธโร). (2556). หลักสูตรครูสมาธิ เล่ม 3. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: พิฆณี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). โยนิโสมนสิการ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). ฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2563). พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย). (พิมพ์ครั้งที่ 54). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2563). ภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชน:จะช่วยอย่างไร?. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).

Angela Duckworth, (2016). Grit: The Power of passion and Perseverance. New York: An Imprint of Simon & Schuster Inc.

Coopersmith, S. (1981). The antecedents of self-esteem. Palo Alto. CA: Consulting Psychologists Press.

Grotberg H.E. (2005). Resilience for Tomorrow. International Council of Psychologists Convention. Brazil: Iguazu.

Jean Carpenter-Williams. (2017). Youth Thrive™: Promoting Youth Resilience. Washington, D.C: The center for the Study of Social Policy.

John W. Creswell, (2018). A Concise Introduction to Mixed Methods Research. USA: SAGE Publications, Inc.

Song Xiaodong. (2019). Effective Efforts. China: Sichuan Tiandi Publishing House Co., Ltd.

Van Zyl, L. E. (2013). Seligman’s flourishing: An appraisal of what lies beyond happiness. SA journal of industrial psychology, 39(2), 1-3.