อุเบกขาในการเจริญภาวนากรรมฐาน กับความสำเร็จในทางโลก

Main Article Content

จิรชฎา เชียงกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาพุทธศาสนาเรื่องอุเบกขาในการเจริญภาวนากรรมฐาน ควรเข้าใจความหมายของคำว่า อุเบกขา และแนวทางเพื่อเข้าถึงอุเบกขาทางธรรม และการนำไปใช้ในทางโลก อุเบกขาเป็นหนึ่งในพรหมวิหาร 4 อันเป็นวิธีหนึ่งในการเจริญภาวนากรรมฐาน40 โดยเริ่มจากการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ พัฒนาจิตให้งดงามสะอาดบริสุทธิ์ ปฏิบัติสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นธรรม อุเบกขาจึงมีความเกี่ยวพันกับปัญญา เมื่อเกิดปัญญา เห็นสามัญลักษณะแห่งไตรลักษณ์ อันไปสู่ความหลุดพ้น และเป็นแนวทางที่เข้าถึงอุเบกขา10 ที่เกิดในภูมิแห่งวิปัสสนากรรมฐาน นอกจากทางธรรมแล้ว แนวทางของการบำเพ็ญอุเบกขานั้นสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฉะนั้นในทางโลกอุเบกขาจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับผู้นำและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อใช้ในการนำประเทศ บริหารคนบริหารงานและการดำเนินงานด้วยการรู้จักวางเฉย จิตสงบ ไม่ว้าวุ่นกับสิ่งที่มากระทบ แต่กระทำในสิ่งที่เหมาะสมตามหลักพระพุทธศาสนาด้วยใจเป็นกลาง สร้างความยุติธรรม ด้วยความเท่าเทียมกันอันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการนำผู้คนไปสู่ความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

แก้ว ชิดตะขบ. (2547). รวมวิชาธรรมศึกษา ชั้นตรี. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

ถวิล อรัญเวศ. (2564). ผู้บริหารควรใช้อุเบกขาอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564, จาก http://thawin09.blogspot.com/2021/08/blog-post_42.html

ธงทอง จันทรางศุ และนรชิต สิงหเสนี. (2559). เอลิซาเบธที่ 2 แน่วในปณิธาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ:โอเพ่นบุ๊ก.

ธนาคารกรุงเทพ. (2560). นิทรรศน์ฉันรักในหลวงในดวงใจนิรันดร์ (พิมพ์ครั้ง ที่ 1). กรุงเทพฯ: เมย์ฟลาวเวอร์.

นิธี ศิริพัฒน์. (2559). อุเบกขาในการเจริญภาวนากรรมฐาน. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564, จาก http://siripat.com/Dhamma_Articles.asp

บุญมี แท่นแก้ว. (2539). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระกำพล อายุโท (เอี่ยมอัมพร). (2554). การศึกษาวิเคราะห์ เรื่องอุเบกขาบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาทศึกษาเฉพาะกรณีการบำเพ็ญอุเบกขาบารมีของพรหมนารทะ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระประมวล ธมฺมยุตโต. (2562). การสร้างแรงจูงใจด้วยหลักพรหมวิหาร4. หนังสือพุทธจักร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดำเนิน). (2556) การศึกษาวิเคราะห์อุเบกขาบารมีในนารทชาดก. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร,4(11), 15-16.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอสอาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). ตามรอยพุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: กองทุนเกื้อโลก (ป.อ.ปยุต.โต).

พระไพฑูรย์ เมธิโก (มหาบุญ). (2554). การประยุกต์พรหมวิหาร 4 เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอภิชาต ธมมเตโช (สมบูรณ์). (2557). ศึกษาการพิจารณาอารมณ์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลส (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑูฒโน). (2541). อุเบกขาการวางเฉยอย่างถูกวิธี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ สืบสงวน.(2564). ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564, จาก https://www.watthakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=43