การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถการเป็นผู้ให้คำปรึกษากลุ่ม ด้านการเสริมสร้างทักษะชีวิตในนักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

กษศรณ์ นุชประสพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถการเป็นผู้ให้คำปรึกษากลุ่มด้านการเสริมสร้างทักษะชีวิตในนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยา ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครที่มีคะแนนระดับความสามารถการเป็นผู้ให้คำปรึกษากลุ่มไม่เกินระดับปานกลางจำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมอบรมการปรึกษากลุ่มด้านการเสริมสร้างทักษะชีวิต ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกอบรมใด ๆ


ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถการเป็นผู้ให้คำปรึกษากลุ่มด้านการเสริมสร้างทักษะชีวิตในนักศึกษาพัฒนาจากแนวคิดกลุ่มฝึกอบรม กระบวนการให้คำปรึกษาแบบเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง และองค์ประกอบของทักษะชีวิต มีกระบวนการฝึกอบรมทั้งหมด 12 ครั้ง และผ่านเกณฑ์การตรวจสอบเชิงคุณลักษณะมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 2) หลังการฝึกอบรมนักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้คำปรึกษากลุ่มด้านการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถการเป็นผู้ให้คำปรึกษากลุ่มฯ สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ส่วนนักศึกษากลุ่มทดลองที่เคยและไม่เคยมีประสบการณ์เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการปรึกษา มีความสามารถการเป็นผู้ให้คำปรึกษากลุ่มฯ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมฯไม่แตกต่างกัน 5) นักศึกษากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถการเป็นผู้ให้คำปรึกษากลุ่มด้านการเสริมสร้างทักษะชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษศรณ์ นุชประสพ. (2560). ตำราการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาเทคนิคการปรึกษาเบื้องต้น. (2533). เทคนิคการปรึกษาเบื้องต้น. เอกสารการสอนชุดวิชา. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ดุษฎี เล็บขาว. (2559). การพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่นโดยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพียงเพ็ญ เอี่ยมละออ (2542). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการพัฒนาทักษะชีวิตในเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิมาพร ไชยสิงห์. (2557). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิตของวัยรุ่นโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 50 จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วจี ปัญญาใส. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะผู้ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 71-85.

วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์. (2557). ทักษะชีวิตวัยรุ่นไทยในศตวรรษที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 24(2), 42-48.

ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2555). การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สกล วรเจริญศรี. (2550). การศึกษาทักษะชีวิตและการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนวัยรุน (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์. (2551). วันเด็กแห่งชาติ: พัฒนาการและความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 4(2), 1-17.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การ-ปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวณี เตชะพัฒนาวงษ์. (2553). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Corey, G. (1996). Theory and practice of counseling and psychotherapy. Monterey: Brooks and Cole.

Corey, G. (2004). Theory and practice of group counseling (6th ed.). Belmont, California: Thomson Brooks/Cole.

Cunningham, G. B. (2006). The influence of group diversity on intergroup bias following recategorization. The Journal of Social Psychology, 146(5), 533-547.

Mangrulkar, L., Whitman, C. & Posner, M. (2001). Life Skills Approach to Child and Adolescent Healthy Human Development. Adolescent Health Unit, 6, 23-31.

Nelson-Jones, R. (1992). Group Leadership: A Training Approach. California: Brook/Cole.

Nelson-Jones, R. (1998). Theory and practice of counseling. New York: Holt, Rinehart and Winston Ltd.

Ohlsen, M. M. (1970). Group counseling. New York: Holt, Rinehart, & Winston.

Sharf, R. S. (2000). Theories of psychotherapy and counseling concepts and cases. Belmont, California: Wadsworth/Thomson Learning.