การศึกษาภาระค่าใช้จ่ายในการมารับบริการที่โรงพยาบาลของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุวรรณา เชียงขุนทด
พุทธวรรณ ชูเชิด
เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ
พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมารับบริการและภาระค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลเมื่อผู้สูงอายุมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุสุขภาพดี จำนวน 321 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและตามเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ไม่มีการใช้ยามากกว่า 4 ชนิด ไม่มีภาวะสมองเสื่อมหรือภาวะซึมเศร้า เก็บข้อมูลช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2564 โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามประกอบด้วยลักษณะประชากร ลักษณะการมารับบริการและค่าใช้จ่ายในการมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20)= 0.892 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.12 อายุเฉลี่ย 66.02+6.47 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 54.25 มีรายได้เป็นของตนเองร้อยละ 69.95 แหล่งสนับสนุนรายได้ที่ช่วยเหลือกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุร้อยละ 43.43 กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 47.72 มีโรคประจำตัว และกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีสวัสดิการด้านการรักษา 2) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.60 ไม่มาตรวจตามนัด เดินทางมาโรงพยาบาลด้วยยานพาหนะ 7 ชนิด ใช้เวลาเดินทางไป-กลับเฉลี่ย 2.45+1.26 ชั่วโมง/ครั้ง ใช้เวลาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.43+1.42 ชั่วโมง/ครั้ง และร้อยละ 69.72 มีผู้ช่วยเหลือพามาโรงพยาบาล 3) กลุ่มตัวอย่างมีค่าใช้จ่ายทางตรง 7 รายการ คือ ค่าเดินทางไป-กลับ ค่าจ้างคนรับจ้างพามาโรงพยาบาล ค่าจ้างคนดูแลเด็กที่บ้าน ค่าอาหาร ค่าเครื่องแต่งตัวเพื่อมาโรงพยาบาล ค่าของฝาก ค่าที่จอดรถ และมีค่าใช้จ่ายทางอ้อม คือ ค่าสูญเสียโอกาสของตนเองและญาติ ค่าใช้จ่ายโดยรวมเท่ากับ 1,535.38+816.32 บาท/ครั้ง คณะผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรบริหารจัดการบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพและจัดระบบสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการเดินทางของผู้สูงอายุให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). เอกสารหลักและมติสมัชชาผู้สูงอายุ ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการจัดสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สามลดา.

กรุงเทพมหานครและวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2557). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 1 พ.ศ. 2557-60). กรุงเทพฯ: ธนเชษฐ์.

เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, จุฑาธิป ศีลบุตร, จิราพร ชมพิกุล, กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์, และสมชาย วิริภิรมย์กูล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากลำบากของครอบครัวผู้สูงอายุไทย. วารสารสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,10(4), 414-426.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเกื้อหนุนด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิชาการสาธรณสุข,25(2), 192-203.

ทีนุชา ทันวงศ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และพรทิพย์ กีระพงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายสุขภาพอำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 23-36.

ธนาคารโลก. (2559). ปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ: ความเป็นธรรมทางสุขภาพและความครอบคลุมทางสังคมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานภูมิภาคเอเชีย.

นิลภา จิระรัตนวรรณะ และขนิษฐา นันทบุตร. (2555). ปัจจัยเชื่อมโยงสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารคณะพลศึกษา, 15(ฉบับพิเศษ), 179-188.

ปะราลี โอภาสนันท์, วิยะดา รัตนสุวรรณ และสุนีย์ ปัญญาวงศ์. (2560). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 177-187.

มนสิการ กาญจนะจิตรา. (2561). ผู้สูงอายุและความยากจน. วารสารประชากรและการพัฒนา, 38(4), 9.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์, และ พสิษฐ์ พัจนา. (2562). สถานการณ์การใช้บริการสุขภาพ: ความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ และพื้นที่. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https://tdri.or.th/2019/01/

วิน เตชะเคหะกิจ. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนผลลัพธ์ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่แผนกผู้ป่วยนอกเปรียบเทียบระหว่างกองทุนประกันสุขภาพของรัฐ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(2), 284-295.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ (2556). รายงานการศึกษาโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2550-2554). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์, และเกศปกรณ์ แสงเงิน. (2561). แนวทางการพัฒนาบริการขนส่งสำหรับผู้สูงอายุในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 3032-3047.

ศิริพร งามขำ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, และจารุวรรณ หมั่นมี. (2561). การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 91-104.

สุนิสา ยุคะลัง, และประสบสุข ศรีแสนปาง. (2560). การพัฒนาบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนทอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 196-203.

สุรศักดิ์ ไชยสงค์ และคณะ. (2556). ต้นทุนของผู้ป่วยในการรักษาโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ ครั้งที่ 5 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 90-94.

เสาวรส มีกุศล, เวหา เกษมสุข, รักชนก คชไกร, และสมชาย ปฐมศิริ. (2561). การศึกษารูปแบบการให้บริการสุขภาพ เคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก,19(ฉบับพิเศษ), 62-69.

อรสา ตั้งสายัณห์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ, สุคนธา คงศีล, และสุขุม เจียมตน. (2556). การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานอย่างได้ผล ปีงบประมาณ 2553 โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์, 20(1), 72-85.

Alex, M., Audrey, K., Liz, H., & Mollyann, B. (2022). Americans’ Challenges with Health Care Costs. Americans’ Challenges with Health Care Costs. Retrieved April 26, 2022, from https://www.kff.org/health-costs/issue-brief/americans-challenges-with-health-care-costs/

Jacobson, G., Cicchiello, A., Shah, A., Doty, M.M., & Williams II, R.D. (2021). When Costs Are a Barrier to Getting Health Care: Reports from Older Adults in the United States and Other High-Income Countries. Retrieved April 26,2021, from https://www.commonwealthfund.org/ publications/surveys/2021/oct/when-costs-are-barrier-getting-health-care-older-adults-survey

Meram, A., April, C.R., & Tin, T.S. (2019). Determinants of household catastrophic health expenditure: A systematic review. The Malaysian Journal of Medical Sciences, 26, 15-43.

Robin, O., Michelle, M.D., Donald, M., Dana, O.S. & Arnav, S. (2017). Older Americans Were Sicker and Faced More Financial Barriers to Health Care Than Counterparts in Other Countries. Health Affairs, 36(12), 2039-2216.