ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อส่งเสริมความคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Main Article Content

อดิศร ศิริ
วิรินธร อักษรนิตย์
อลิสรา ชมชื่น
ปาลิดา สายรัตทอง พัฒนพิชัย
สิริชัย พลับช่วย

บทคัดย่อ

.


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการความสามารถการคิดวิเคราะห์ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับสื่อประสมหลังเรียน 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับสื่อประสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 164 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสัมภาษณ์สภาพการจัดการเรียนรู้ และ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบ Dependent  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับสื่อประสม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยรวมของหลังเรียนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.29, S.D.=0.87),  2) นักศึกษามีคะแนนความคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เพื่อพัฒนาความคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับ ดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาร์น.

ทิศนา แขมมณี. (2544). ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่เป็นสากลเกี่ยวกับการคิดในช่วงศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

พรรณวร บุญประเศรษฐผล และคณะ. (2553). การพัฒนารปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใชการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,12(3), 53 – 76.

วิจารณ์ พานิช. (2560). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิจิตรา บังกิโล และชาญณรงค์ เฮียงราช. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และเทคนิคระดมสมองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงเรื่อง ลำดับและอนุกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(4), 149-148.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2560, จาก backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf

สิริลักษณ์ ตาณพันธุ์. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา,12(3), 313-329.

Brodin, E. M., & Frick, L. (2011). Research And Theory Conceptualizing and encouraging critical creativity in doctoral education. International Journal for Researcher Development, 2(2), 133-151.

Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated cognition and the culture of learning. Education Researcher, 18, 32 – 42.

Gok, B., & Erdogan, T. (2011). The investigation of the creative thinking levels and the critical thinking disposition of pre-service elementary teachers.Journal of Faculty of Educational Sciences, 44(2), 29-51.

Halinen, I. (2018). The New Educational Curriculum in Finland. In M. Matthes, L. Pulkkinen, C. Clouder, & B. Heys (Eds). Improving the Quality of Childhood in Europe.Brussels, Belgium: Alliance Childhood European Network Foundation.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Mattila, P. & Silander, P. (Ed.). (2015). How to Create the School of the Future–Revolutionary thinking and design from Finland. Finland: Multprint.

OECD. (2016). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework: Science, Reading, Mathematic and Financial Literacy. Paris: PISA, OECD Publishing.

Shrum, J.L.&Glisan, E.W. (2000). Teacher’s handbook: contextualized language instruction. Massachusetts: Heinle & Heinle.

Symeonidis, V. & Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-Based Teaching and Learning through the Pedagogical Lenses of Phenomenology: The Recent Curriculum Reform in Finland. Forum Oświatowe, 28(2), 31–47.

ULGER, K. (2016). The Relationship between Creative Thinking and Critical Thinking Skills of Students. H. U. Journal of Education, 31(4), 695-701.