การขัดเกลาทางสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการขัดเกลาทางสังคม 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการขัดเกลาสังคม 3) เพื่อบูรณาการหลักธรรมในการขัดเกลาสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา
4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การขัดเกลาทางสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา” การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเจาะจง และจัดเวทีเสวนากลุ่ม จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอโดยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิดและทฤษฎีการขัดเกลาทางสังคม พบว่า การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการที่สำคัญในการปรับพฤติกรรม ความคิด ความรู้ ความเชื่อของบุคคลให้มีความเหมาะสม มี 3 ด้าน ดังนี้ ด้านแรกเป็นองค์ประกอบด้านพฤติกรรมเป็นเรื่องของกระบวนการถ่ายทอดการฝึกฝนของระเบียบวินัย กฎ กติกา ด้านที่สององค์ประกอบด้านสมาธิ หรือจิตใจ เป็นการถ่ายทอดคุณค่าของการปลูกฝังคุณธรรมซึ่งเป็นการเสริมสร้างสุขภาพจิตให้สมควรแก่การงาน และด้านที่สามองค์ประกอบด้านปัญญา เป็นการถ่ายทอดด้านวิชาความรู้หรือทักษะต่าง ๆ องค์ประกอบของการขัดเกลาทางสังคมทั้งสามด้านนี้มุ่งหวังให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กลุ่มสังคมวางเอาไว้
2. หลักธรรมในการขัดเกลาสังคม พบว่า หลักไตรสิกขาเป็นหลักธรรมสำคัญในการขัดเกลาทางสังคมทั้ง ด้านพฤติกรรมโดยมี หลักศีล เป็นควบคุม ด้านสมาธิ หรือจิตใจโดยมี หลักสมาธิเป็นตัวกำกับ และ ด้านปัญญา คือการแสวงหาความรู้โดยมีหลักปัญญาเป็นตัวสนับสนุน
3. บูรณาการหลักธรรมในการขัดเกลาสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า การขัดเกลาความประพฤติโดยบูรณาการเข้ากับหลักศีล ทำให้มีวินัย มีระเบียบมีในการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้เหมาะกับการพัฒนาและให้เอื้อโอกาสในการที่จะพัฒนา การขัดเกลาทางด้านจิตใจ โดยบูรณาการเข้ากับหลักสมาธิ ทำให้มีความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามารถของจิตมีความเข้มแข็งมั่นคง ทำให้เกิดความเพียรพยายาม ความรับผิดชอบในการดำเนินชีวิต การขัดเกลาทางด้านความรู้ โดยบูรณาการเข้ากับหลักปัญญา ทำให้มีความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ตรวจสอบ คิดการต่าง ๆ สร้างสรรค์
4. องค์ความรู้เกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา เรียกว่า MATA Model M คือ Morality หมายถึง การขัดเกลาความประพฤติ โดยมีศีลเป็นตัวควบคุม A คือ Attention หมายถึง การขัดเกลาทางด้านจิตใจ โดยมีสมาธิ เป็นตัวกำกับ T คือ Transfer หมายถึง การขัดเกลาทางด้านความรู้ โดยมีเป็นตัวสนับสนุน A คือ Ability หมายถึง การปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทักษะชีวิต ขัดเกลาทางด้านจิตใจนำไปสู่การเพิ่มทักษะชีวิต และการขัดเกลาด้านความรู้นำไปสู่การสร้างทักษะใหม่ในการดำเนินชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2562). ปรัชญาทางสังคมแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : นิติธรรมการพิมพ์.
เดือน คำดี. (2534). พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: พุทธธรรมบูชา.
พระพิษณุพล สุวณฺณรูโป (รูปทอง). (2554). การศึกษาหลักพุทธธรรมและคุณค่าที่ปรากฏในยันต์เทียนล้านนา:กรณีศึกษาเฉพาะในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุเทพ สุวีรางกูร. (2556). สังคมวิทยาเบื้องต้น. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุพัตรา สุภาพ. (2545). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Blaime, M. E. and Robert K.M. (1958). the Study of Society. New York: Harcourt, Brace and World, Inc.