โปรแกรมการเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูด้วยจิตวิทยาเชิงบวก สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Main Article Content

วาสิณี จิรสิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experiment research) เพื่อศึกษาระดับจิตวิญญาณความเป็นครู และการสร้างโปรแกรมเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูด้วยจิตวิทยาเชิงบวกสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ ที่ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) และการสุ่มกลุ่มจำแนกกลุ่ม (Random assignment) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อนำมาสร้างเป็นแบบสอบถามจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู และนำข้อมูลที่ได้มาสร้างโปรแกรมเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูด้วยจิตวิทยาเชิงบวก ด้วยหลักการ PERMA Model การวิจัยระยะที่ 2 การนำโปรแกรมเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และทำการทดสอบความแตกต่างของจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติทดสอบ t-test


ผลการวิจัยพบว่าระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีอยู่ในระดับสูงมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 18.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 18.60 และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test=3.102)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญภร เอี่ยมพญา และคณะ. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบระดับจิตวิญญาณครูของครูสังกัดสำหนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กับจิตวิญญาณของครูดี. วารสารวิจัยเพชรพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 1-14.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2565). เกี่ยวกับคณะครุศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก https://edu.dru.ac.th/about-us.php

ดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2558). การพัฒนากระบวนการสอนด้านจิตพิสัยเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,7(2), 93-107.

ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2554). ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู:การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวัต ตั้งเพชรเดโช. (2556). จิตวิญญาณความเป็นครูกับความก้าวหน้าในอาชีพที่พยากรณ์ความทุ่มเทในการทำงานของครู (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2565). เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก https://www.dru.ac.th/identity_student

รุ่งนภา จิตโรจนรักษ์. (2558). ผลการสำรวจความเห็นครูสอนดี. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561, จาก http://korat.nfe.go.th/koratnews/?name=news1&file=readnews&id=591

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2540). การวิจัยกึ่งทดลองทางพฤติกรรมศาสตร์: การออกแบบและการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สจีพรรณ ทรรพวสุ. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อส่งเสริมความเป็นครูวิชาชีพของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 1-10.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2554). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์. (2560). จิตวิทยาเชิงบวก: การพัฒนา การประยุกต์ และความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 278-290.

Seligman, E.P. Martin. (2018). The hope circuit: A Psychologist’s Journey from Helplessness to Optimism. New York: Public Affairs.