พุทธจิตวิทยาเพื่อพลังใจวัยรุ่น

Main Article Content

พรทิพย์ เกศตระกูล
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์

บทคัดย่อ

ปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น ปัญหาโรคภาวะซึมเศร้า ปัญหาความเครียด อันเนื่องมาจากการที่วัยรุ่นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ด้วยวัยที่ยังมีประสบการณ์และการเข้าใจชีวิตที่ไม่มาก เมื่อต้องพบเจอกับปัญหาหลาย ๆ ด้านพร้อมกัน จึงเป็นสิ่งที่ยากในการตัดสินใจเลือกหนทางแก้ปัญหา ขาดความมั่นใจในตนเอง เกิดความกังวล ความเครียด ซึ่งนำไปสู่ภาวะการป่วยทางจิต และทางร่างกายในที่สุด พลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้วัยรุ่นสามารถปรับตัวไปตามสถานการณ์หรือสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ กล้าเผชิญกับปัญหา และสามารถทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถควบคุมตนเองได้ การเสริมสร้างพลังใจ เป็นกระบวนการที่ช่วยส่งเสริมหรือเพิ่มความสามารถให้วัยรุ่นมองเห็นความสามารถของตนเอง เข้าใจปัญหาและสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองได้ นำมาซึ่งความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีการแสดงออกที่เหมาะสม การเสริมสร้างพลังใจที่สำคัญคือการสร้างพลังใจจากภายในตนเอง หลักพุทธธรรมเพื่อการเสริมสร้างพลังใจให้วัยรุ่น คือพละ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา และ การมีกัลยาณมิตร  วัยรุ่นที่มีพลังใจสูง จะมีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถเรียนรู้ ไตร่ตรอง ทบทวน และตัดสินใจบนพื้นฐานของความเข้าใจและเหตุผล สามารถพึ่งพาช่วยเหลือตนเองได้  เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น สามารถเลือกดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงาม ในแบบที่เหมาะกับตนได้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. (2562). คู่มือสร้างสรรค์พลังใจวัยทีน. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง.

กรมสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการดูแลสุขภาวะด้านจิตใจ.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง.

จิรกิตต์ภรณ พิริยสุวัฒน์. (2019). จิตวิทยาในพระไตรปิฎก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เลย: บ้านนาอ้อ.

ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2552). จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4),188-208.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมมงคลญาณ (พระอาจารย์ วิริยังค์ สิรินธโร). (2556). หลักสูตรครูสมาธิ เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: พิฆณี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2563). พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย). (พิมพ์ครั้งที่ 54). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2553). 7 สิ่งมหัศจรรย์ของชีวิต 7 หลักคิดเพื่อความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันวิมุตตยาลัย.

ยุทธนา พูนเกิดมะเริง และพระสิทธิศักดิ์ พรมสิทธิ์. (2563). กัลยาณมิตรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 197-208.

รายงานสุขภาพคนไทย. (2563). ภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชน:จะช่วยอย่างไร?. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เริงชัย หมื่นชนะ. (2558). ระบบและทฤษฎีพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 2(1), 63-78.

อัญมณี มณีนิล. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Kotchakorn Chayakul (2018), Effect of the Resilience Quotient Enhancement Program among Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, The Journal of Baromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, 24 (2),97-104.

Ngamchat, A. (2013). Buddhist psychology in the Tripitaka. (1st ed.). Bangkok: Phimsuay.

Phophichit, N. (2018). The effects of Buddhist Psychological factors on Resilience of Adolescents (Doctoral dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sagone et al. (31 May 2020). Resilience and perceived self-efficacy in life skills from early to late adolescence. Retrieved June 25, 2022, from https://www.tandfonline.com/doi/pdf/10. 1080/ 02673843.2020.1771599?needAccess=true

Williams, J. (2017). YouthThrive™: Promoting Youth Resilience: Trainer’s Guide. Washington, D.C.: The Center for the Study of Social Policy.

Wolin, JS & Wolin, S. (2010). The Resilient Self: How Survivors of Troubled Families Rise above Adversity. New York: Random House Digital, Inc.

Xuepeng Liu, Zhenzhen Zhou. (2022). The Association between Mindfulness and Resilience among University Students: A Meta-Analysis. Sustainability, 14(16), 10405.

Yapko, M. (15 May 2018). How to prevent depression, Psychlopaedia. Retrieved June 27, 2565, from https://psychlopaedia.org/health/how-to-prevent-depression-full-transcript/