การคิดเชิงบวกตามแนวพุทธจิตวิทยาสู่ชีวิตที่ดีงาม

Main Article Content

นรินทร์ชิตา ศีลประชาวงศ์
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา

บทคัดย่อ

ความคิดเชิงบวกตามแนวพุทธจิตวิทยาเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการรับรู้ แปลความหมายไปในทางที่ดี เน้นการฝึกฝนจิตใจให้คิดแต่เรื่องดี ๆ โดยเนื้อหาสาระของความคิดนั้นมีทั้งเรื่องของความจริงและความมีประโยชน์ คิดดีตามหลักพระพุทธศาสนาต้องประกอบด้วยปัญญาเพื่อแก้ปัญหาทุกข์ ที่เรียกว่า” โยนิโสมนสิการ” เป็นการคิดดีและคิดถูกต้อง นั่นหมายถึง คิดแล้วทำให้ความชั่วลดลง ความดีเพิ่มขึ้น คิดแล้วชีวิตดีขึ้น คิดแล้วได้ผลดี จึงเรียกว่า คิดเชิงบวก เมื่อคิดดีก็แสดงพฤติกรรมออกมาดีทั้งคำพูดและการกระทำนำมาซึ่งการมีชีวิตที่ดีงามและมีความสุข ความคิดเชิงบวกเป็นทักษะของมนุษย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ผลลัพธ์ในทิศทางที่ดี โดยยอมรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ต้องรู้จักแยกแยะตัวความคิด ให้พิจารณาถึงคุณประโยชน์และโทษของความคิดนั้น ปัญหาทุกอย่างมองให้เป็นคุณค่าในการพัฒนาตนเองและเป็นแนวทางเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ มองวิกฤตเป็นโอกาสสู่ความสำเร็จ การคิดเชิงบวกตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นกระบวนการคิดไตร่ตรองที่ประกอบด้วยหลักธรรมพละ5 ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่สร้างความเข้าใจสาเหตุของปัญหาและเข้าถึงเป้าหมายการดับปัญหาที่แท้จริงของชีวิตในอริยสัจสี่ และ มรรคมีองค์ 8 ทำให้บุคคลรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เกิดความเชื่อในความสามารถ มีความกระตือรือร้น มีพลังที่จะกระทำสิ่งต่างๆ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เมื่อบุคคลมีกระบวนการของไตร่ตรองความคิดภายในตนอย่างลึกซึ้งด้วยพลังแห่งสติและสัมปชัญญะ จะสามารถสร้างพลังความเชื่อมั่นและศรัทธาที่ถูกต้องภายในจิตใจ มีวิริยะ ความเพียรพยายามน้อมจิตให้มีความคิดดีอยู่เสมอ มีสมาธิในการมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อจัดการกับความคิดที่ช่วยระงับความคิดฟุ้งซ่าน และมีพลังแห่งปัญญาในการพิจารณาเห็นคุณประโยชน์และโทษของความคิดที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้สามารถคิดที่แก้ปัญหาและป้องกันปัญหาทุกข์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

Article Details

How to Cite
ศีลประชาวงศ์ น., ศรีเครือดง ส., & ฐิติโชติรัตนา ว. (2022). การคิดเชิงบวกตามแนวพุทธจิตวิทยาสู่ชีวิตที่ดีงาม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 7(2), 115–127. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/262629
บท
บทความวิชาการ

References

ทวีศักดิ์ ใหม่ประยูร และพระครูสุธีคัมภีรญาณ. (2560). การปฏิบัติการพุทธจิตวิทยาเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2),18-26.

ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). การคิดเชิงบวก.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,16(2),190-223.

พระสมุห์วัลลภ วลฺลโภ. (2560). การให้คำปรึกษาและการเสริมสร้างพลังความคิดเชิงบวกในผู้สูงอายุ.วารสารพุทธจิตวิทยา, 2(2),29-43.

พระอนุรุทธาจารย์. (2556). อภิธรรมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี. กรุงเทพฯ: ไทยรายวัน.

พระศรีปริยัติธาดา, ทิพย์ ขันแก้ว, และเอกชัย พัฒนะสิงห์. (2560). การเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์ตามหลักพุทธจิตวิทยา. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม2565, จาก http://wittayalai.com/_files_school/1331100 048/document/1331100048_0_20170627-133016.pdf

พุทธทาสภิกขุ. (2548). คิดให้เป็นเดี๋ยวเห็นเอง. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ไพเฟอร์ เวร่า. (2548). การคิดแง่บวก. แปลโดย นุชจรีย์ ชลคุป. กรุงเทพฯ: บลิส.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โยษิตา สมเจริญ. (2557). การคิดเชิงบวกและค่านิยมในการทำงานที่พยากรณ์ พฤติกรรมการให้บริการของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เวนเทรลล่า, สก็อตต์ ดับเบิ้ลยู. (2545). อานุภาพแห่งความคิดเชิงบวกในโลกธุรกิจ.กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส.

สกล เหลืองไพฑูรย์ และสุเชาวน์ พลอยชุม. (2561). การเสริมสร้างความคิดเชิงบวกตามแนวพุทธธรรม.วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(ฉบับพิเศษ), 113-123.

สุวรรณี ไวท์ , สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และสุวัฒสัน รักขันโท. (2564). พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาตนให้มีความสุข. มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์,7(1), 425-439.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก. (2551). หายใจให้เป็นสุข. กรุงเทพฯ: ซไทโลกราฟ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.

อารี พันธ์มณี. (2544). การพัฒนาความคิดสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

อมรา ผดุงทรัพย์.(2565). การพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (วิทยานิพนธ์ปริญญารวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรอุมา รัตนบรรณกิจ (2564). ผลกระทบทางด้านสุขภาพจิตจากวิกฤตการระบาดของโรคอุบัติใหม่ โควิด-19. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565, จาก https://www.senate.go.th/document/Ext26534/26534832 _0002.PDF

Baughman, John Lee. (1974). Beyond Positive Thinking: The Greatest Secret Ever Told. New York: Harper & Row.

English, Martin. (1992).How to Feel Great About Yourself and Your Life: A Step by Step Guide to Positive Thinking. New York: AMACOM.

Hsiao, T., Wenloong, C. and Ying, F. L. (2012). A Study on the Relationship between Thinking Styles (Attitudes) and Collaboration Attitudes of College Students in Taiwan. Journal of Educational and Instructional Studies in the World, 2(2), 46-57.

Kaori, T. & Motoko, F. (2015). The Relationship between Positive Thinking and Individual Characteristics: Development of the Soccer Positive Thinking Scale. Football Science, 12, 74-83.

Potter, Alice. (1998). Putting the Positive Thinker to Work: 21 Ways 21 Days to a Happy, Fulfilling, Successful Life. New York: Berkley Books.