การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม

Main Article Content

กมลวรรณ อินอร่าม
ภริมา วินิธาสถิตกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นระยะแรกเริ่ม และ 2) หาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นระยะแรกเริ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่มที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี ที่เข้ามาใช้บริการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 10 คน โดย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่ม และแบบประเมินทักษะการเตรียมความพร้อมในการอ่านเขียนอักษร และชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่มพร้อมกับแผนการจัดกิจกรรมจำนวน 18 แผ่น โดยจัดกิจกรรมโดยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 6 สัปดาห์  ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า ฯ พบว่า ผลการประเมินก่อนและหลังการใช้ชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กบกพร่องทางเห็นในระยะแรกเริ่ม มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  มีค่า t = 8.232, p-value= .000  และผลการวิเคราะห์ แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการประเมินทักษะฯของเด็กก่อนและหลังการทดลอง กล่าวคือชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กบกพร่องทางการเห็นในระยะแรกเริ่มมีความเหมาะสมและสามารถส่งเสริมให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Addiction Science Research and Education Center, The University of Texas. (2000). Neurons and neurotransmitters: The brains of the nervous system. Retrieved July 9, 2021, from http://www.Utexas. Edu/research/asrec neuron.html

Arayawinyu, P. (2001). Learning disabled children. Bangkok: P.A.Ant & Printing Co., LTD.

Cooper,S. (2009).Howard Garner: Multiple intelligence. Retrieved Retrieved July 9, 2021, from http:www.Lifecircles-inc. com/Learningtheories/Gardner.html

Feldman, R.S. (2005). Development Across the life Span. (3th ed). New Jersy: Pearson & Printice-Hall.

Gesell, A., & Carmichael, L. (1946). Manual of child psychology. (2nd ed). New York: Wiely & Son Co.

Harder, A. F. (1010). The developmental stges of Erikerikson Retrieved Retrieved July 16, 2021, from http://www.Learningplaceonline.Com/stages/organixe/Erikson.htm

Kodsomboon, P. (2011) Childern with visual impairments' learning. Retrieved Retrieved July 26, 2021, from http://www.nrru.ac.th/web/Special_Edu/2-5.html#4

Kauffman, J. M., & Hallahan, D. P. (1995). The illusion of full inclusion: A comprehensive critique of a current special education bandwagon. PRO-ED, Inc., 8700 Shoal Creek Blvd., Austin, TX 78757-6897.

Makmee, K. (2007) . Research in Special Education. Chiang Mai : Chiang Mai Rajabhat University.

Ministry of Education. (2003). National Education Act B.E.1999 And Amendments (Second National Education Act B.E. (2002). Bangkok: Organization for the Delivery of Goods and Parcels (ETO).

Niyomtam, S. (1999). Inclusive education. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Sutchaya, P. et al., (2004). Research Title Development of a package development promotion activities for children from birth to 5 years old in the primary care level. Bangkok: Health Systems Research Institute (HSRI.)